ในภาพเป็น นักศึกษา เภสัช ที่สอบเข้าได้ กำลังจะเข้าเรียนต้องมาเสียชีวิตเสียก่อน
เนื่องจากกลัวใส่ชุดนักศึกษาไม่สวยเลย เลยหันมากินยาลดความอ้วน
สำหรับยาลดความอ้วน เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่หลายคนนำมาใช้ในการลดความอ้วน
จริงๆแล้วในเรื่องยาลดความอ้วนนั้น เป็นเรื่องปกติ ที่มีใช้กัน หากแต่ว่าอันตราย
จากการใช้ยาลดความอ้วนนั้นไม่ได้มาจาก ยา ที่ใช้เสียทีเดียวจะว่าจริงๆแล้ว ที่อันตราย
เสียยิ่งกว่า ก็คือ การใช้อย่างไม่ถูกวิธี ตังหากที่เป็นอันตราย ยาที่ใช้ลดความอ้วน ที่
เราใช้ๆกัน จะมี โดยคร่าวๆ ที่จะจัดกันอย่างง่ายๆ ก็คือ ยาในส่วนที่มีผลในการ ลด
ความอยากอาหาร ยาในกลุ่มนี้ ที่เป็นที่รู้จักกัน เช่น Sibutramine,Phente
mine,Fenflurramine,Fluoxetine ซึ่งบางตัวอาจจะใช้รวมกัน
กับอีกตัว เช่น Fenfluramine ซึ่งถือเป็นยาที่ อันตรายมีผลในการเกิดโรค
ลิ้นหัวใจ อีกทั้งยังทำให้เกิด ความดันโลหิตสูงในปอด แต่ก็มีการนำมาใช้รวมกันกับ
Phentermine แต่ก็ยังมีผลในการ เกิดโรคดังกล่าวสูงอยู่ดี นอกจากนี้ ในการ
แพทย์ยังมีการใช้ยา โดยอาศัยผลข้างเคียงของยาบางตัว ในการควบคุมน้ำหนัก เช่น
Fluoxetine จัดเป็นยาที่ใช้ในการรักษาอาการทางจิตเวช ใช้ในการรักษา
ผู้มีภาวะ แพนิค,ซึมเศร้า,ย้ำคิดย้ำทำ ซึ่งตัวยา Fluoxetine นั้นเป็นยาที่ใน
วงการแพทย์มีการใช้กันมา กว่า 20 ปีแล้ว และเป็นยาที่มีอันตรายน้อยหากใช้ในปริ
มาณที่ เหมาะสม เพียงแต่ ผลของยา Fluoxetine ยังมีผลในการ ทำให้เบื่อ
อาหาร ซึ่งทำให้มีการนำมาใช้ เพื่อการควบคุมน้ำหนักในผู้มีน้ำหนักเกินอีกด้วย แต่
ทั้งนี้ข้อบ่งใช้ก็ยังต้องอยู่ในความควบคุมของแพทย์อยู่ดี
เราควรใช้ยาลดความอ้วน เพื่อควบคุมน้ำหนักเมื่อไหร่ คำถามนี้มีคำตอบ ดังนี้
คือ เราจะใช้ยาลดความอ้วนก็ต่อเมื่อความอ้วน ที่เรา มีอยู่เกิดเป็นโรคขึ้น
คำว่าความอ้วน กับคำว่า โรคอ้วน มีความแตกต่างกันอย่างไร คำว่าความอ้วน เป็นภาวะ
โภชนาการเกิน หรือเรียกว่ากินเกิน แต่เดิม เมื่อ 20 ปีก่อน ไม่มีการบัญญัติคำว่า
โรคอ้วน ขึ้น เพราะไม่มีคำอธิบายใดๆที่บอกได้ว่า คนอ้วนเป็นโรค แต่ต่อมี มีการค้น
พบโรค ที่มีผลมาจากระบบเผาผลาญผิดปกติ มากมาย ซึ่งเราจะเรียกโรคในกลุ่มนี้ว่า
เมตาโบริค ซินโดรม คำว่า เมตาโบริค ซินโดรม คือกลุ่มอาการของโรค เบาหวาน โรค
หัวใจ โรค หลอดเลือด รวมถึงกลุ่มโรค Ncds อีกด้วย คือทุกโรคที่มีผลมาจากระบบ
เผาผลาญที่ผิดปกติ แล้ว ภาวะที่เกิดระบบเผาผลาญที่ผิดปกตินี้ เกิดทำเราป่วยขึ้น ทางการแพทย์จึงมีการบัญญัติ คำว่าโรคอ้วนขึ้น
โรคอ้วนคือ ความอ้วน ที่เป็นสาเหตุให้ สุขภาพ และการใช้ชีวิตของเรา มีปัญหา เรา
จึงเรียกว่าโรคอ้วน
หลักการที่เราจะใช้ในการควบคุมน้ำหนัก โดยทั่วไปเพื่อความปลอดภัย ก็เป็นที่รู้กัน
ว่าเราจะต้อง ควบคุมอาหาร และ ออกกำลังกาย เพิ่มกิจกรรมในชีวิตประจำวัน แต่เมื่อ
ไหร่ล่ะ ที่เราจะเริ่มใช้ ยาลดความอ้วน
การใช้ยาลดความอ้วน เราจะใช้กันก็ต่อเมื่อ
1.ความอ้วนนั้น นำพาไปสู่โรค ที่มีผลต่อสุขภาพ และความเสี่ยงต่อชีวิต ที่มากกว่า
การใช้ยาลดความอ้วน ยกตัวอย่าง ผู้มีน้ำหนักมากๆที่มีผลต่อ เข่า การมีน้ำหนักมาก
แล้วทำให้เกิดอันตราย ต่อเข่า อาจมีผลระยะยาว กว่าการที่จะเลือกการควบคุมน้ำหนัก
ด้วยการใช้ยา เราก็จะใช้ยา ลดความอ้วน ควบคู่กับการควบคุมอาหาร โดยอยู่ในความ
ดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
2.ได้ทำการ ควบคุมน้ำหนัก โดยการออกกำลังกาย และควบคุมอาหารมาแล้วกว่า 3
เดือน แต่ผลของการควบคุมน้ำหนัก ได้ไม่เกิน 10 %ของน้ำหนักตัวที่ควรจะลดได้
แต่ถึงแม้นี้จะเป็นทางเลือกหนึ่ง หากว่า การควบคุมน้ำหนัก และ โดยการอาหารจะไม่
ได้ผล แต่ก็ควรให้เป็นทางเลือกสุดท้าย และอยู่ในการควบคุมของแพทย์เนื่องจากยา
ลดความอ้วนที่ได้ผล ส่วนใหญ่จัดเป็นยาอันตราย จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท
ประเภท 2 ไม่สามารถ จำหน่ายทั่วไป โดยไม่ผ่านการควบคุมได้
ยาระบาย เป็นยาลดความอ้วนหรือเปล่า ?
หลายคนที่่ทานยาชงสมุนไพร ที่บอกว่า เป็นยาระบาย ก็ขอให้เลิกกินได้แล้วครับ เพราะ
ยาระบาย เราจะไม่จัดเป็น ยาที่มีผลในการควบคุม หรือลดความอ้วน ด้วยเหตุผลที่ว่า
สิ่งที่จะมีผลต่อการควบคุมน้ำหนัก หรือความอ้วนนั้น เราจะมุ่งไปที่การ ควบคุมไขมัน
การเบิร์นไขมัน การใช้พลังงานสะสมอยู่ ซึ่งยาระบาย จะไม่ได้ให้ผลในการควบคุม
สิ่งเหล่านี้ อีกทั้งยังทำให้เสี่ยงต่อสุขภาพ เนื่องจากการขาด น้ำ และ แร่ธาตุ
ยาระบาย สามารถจัดออกเป็นประเภทได้ดังนี้
1.ยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ใหญ่
2.ยาเพิ่มความเหลวของ อุจจาระ
3.ยาเพิ่มกากใยไฟเบอร์
4.ยาสวนทวาร
5.ยาเหน็บทวาร
ยาระบายที่มีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ใหญ่เป็นยาที่มีความนิยมใช้กันมาก เช่น
Bisacodyl เป็นยาที่มีเม็ดเคลือบน้ำตาล สีเหลือง เล็กๆ เป็นส่วนประกอบของมะขาม
แขก มีทั้งชนิดชง และชนิดเม็ด แต่ว่าไม่มีผลในการควบคุมน้ำหนักได้จริง เนื่องจาก
ยาจะไปมีผลในทางระบาย เมื่ออยู่ใน ลำไส้ใหญ่ ซึ่ง อาหารที่เรากินเข้าไปจะถูกดูดซึม
ไปหมดแล้วในลำไส้เล็กตอนต้น ที่เหลือที่ลำไส้ใหญ่ก็เป็นเพียง กากใยอาหารที่รอ
การขับถ่ายอยู่แล้ว ยาก็เพียงแต่ไปเร่งปฏิกิริยา ให้ถ่ายได้สะดวกขึ้น ยาระบาย ชนิดนี้
จะมีผล การทำงานอยู่ที่ 8 ชั่วโมงหลังการทานเข้าไปซึ่ง มักจะทานกันในเวลาก่อนนอน
เพื่อให้เห็นผลในตอนเช้า แต่จากที่อธิบายมาแล้ว จะเห็นได้ว่า ยาพวกนี้ไม่ได้มีผล
ต่อการลดน้ำหนักจริงๆเลย เพียงแต่ อาจจะมีน้ำหนักลงได้บ้าง จากการ สูญเสียน้ำ และ
แร่ธาตุ ซึ่งหากใช้ไปนานๆ อาจจะทำให้เกิดการดื้อยา มีการถ่ายยาก ต้องเพิ่มปริมาณ
ยาไปเรื่อยๆ
ยาลดความอ้วนที่เราจัดเป็นยาที่มีผลในการ ควบคุมน้ำหนักได้จริงๆนั้น ล้วนเป็นยาที่
ต้องอยู่ในความควบคุมของแพทย์ ไม่อาจจะนำมาใช้เองได้ แล้วทำไม จึงยังมีผู้เสีย
ชีวิตจากการใช้ยา ควบคุมน้ำหนักเหล่านี้ในท้องตลาดอยู่ สิ่งที่เกิดขึ้นจริง ในทางปฏิบัติ
แล้ว คือ มีผู้ใช้ยาควบคุมเหล่านี้ อย่างผิดวิธี ทั้งจาก สถานพยาบาลเอง และ จาก พ่อค้า
ที่เห็นแก่ตัว โดยการจำหน่าย ยาชุด เพื่อการควบคุมน้ำหนัก
ยาชุด เพื่อการควบคุมน้ำหนัก คืออะไร ยาชุด พวกนี้ คือยาที่มีการจัดขึ้นเพื่อผลในการ
ควบคุมน้ำหนัก โดยใน 1 ชุด จะประกอบไปด้วยตัวยาต่างๆ ทั้งตัวยาที่มีผลในทาง การ
ลดความอยากอาหาร และตัวยา ระบาย ยาขับปัสสาวะ รวมทั้งยาที่ลดผลข้างเคียงของยา
ควบคุมความอยากอาหารอีกทีหนึ่ง อาจจะมีวิตามินบ้าง เนื่องจากการใช้ยาพวกนี้จะมี
ความเสี่ยงสูงที่จะขาดวิตามินด้วย
ยาชุดส่วนใหญ่จะประกอบด้วยตัวยาหลักๆ ดังนี้
1.ยาควบคุมความอยากอาหาร ซึ่งจะมีตัวยา หลักๆคือ แอมฟีพราโมน เฟนเทอร์มีน
เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ควบคุม ความอยากอาหาร และ ความอิ่มของคนเรา
ซึ่งจะมีผล เหมือนยาบ้า เพราะมี อนุพันธุ์ แอมเฟตามีน เหมือนกับยาบ้า
2.Fluoxetine ฟลูออกซิติน ปกติ เป็นยาที่ใช้ในผู้มีอาการทางจิตประสาท
แต่นำมาใช้เนื่องจากผลข้างเคียงของยาตัวนี้มีผลให้เบื่ออาหาร แต่ผลในการเบื่ออาหาร
ไม่ได้เกิดขึ้นในทุกคน และ เป็นผลชั่วคร่าว หากใช้ไปนานๆ ผลของการเบื่ออาหาร
จะค่อยๆหายไป ขนาดปกติ ของยาที่ได้รับกันคือ 60 มิลลิกรัม ต่อวัน อาการข้างเคียง
ของยาที่อาจพบได้คือ อ่อนเพลีย ท้องเดิน เหงื่อออก นอนไม่หลับ กระหายน้ำ อาเจียน
ทำให้เกิดอาการที่ ทุกทรมาณ มากๆ บางคนคน อ้วกจนเหมือนจะตาย จากที่ผมเคยเห็น
กับตามาแล้ว คือ จะกินข้าว แต่ ก็อ้วก จนเป็นลมไปเลย
แต่นำมาใช้เนื่องจากผลข้างเคียงของยาตัวนี้มีผลให้เบื่ออาหาร แต่ผลในการเบื่ออาหาร
ไม่ได้เกิดขึ้นในทุกคน และ เป็นผลชั่วคร่าว หากใช้ไปนานๆ ผลของการเบื่ออาหาร
จะค่อยๆหายไป ขนาดปกติ ของยาที่ได้รับกันคือ 60 มิลลิกรัม ต่อวัน อาการข้างเคียง
ของยาที่อาจพบได้คือ อ่อนเพลีย ท้องเดิน เหงื่อออก นอนไม่หลับ กระหายน้ำ อาเจียน
ทำให้เกิดอาการที่ ทุกทรมาณ มากๆ บางคนคน อ้วกจนเหมือนจะตาย จากที่ผมเคยเห็น
กับตามาแล้ว คือ จะกินข้าว แต่ ก็อ้วก จนเป็นลมไปเลย
3.ยากลุ่ม ฮอร์โมนธัยรอยด์ Thyroid Hormone
เนื่องจากหน้าที่หลักของ ธัยรอยด์ฮอร์โมนคือ การควบคุมการเจริญเติบโต
การควบคุมระบบเมตาโบริค ของร่างกาย เร่งการหายใจ จึงมีความเชื่อว่าจะทำให
การเผาผลาญไขมัน และพลังงานสะสมดีขึ้น แต่ ยากลุ่มนี้มีผลต่อหัวใจหลอดเลือด
ทำให้ใจสั่น ความดันโลหิตสูง หัวใจล้มเหลว หัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตายได้
เป็นยาที่มีความ อันตราย อย่างมาก ในคนปกติ หากว่ากิน จะมีอาการเหมือนเป็น
คอพอกเป็นพิษ ใจสั่น วูบวาบ
เนื่องจากหน้าที่หลักของ ธัยรอยด์ฮอร์โมนคือ การควบคุมการเจริญเติบโต
การควบคุมระบบเมตาโบริค ของร่างกาย เร่งการหายใจ จึงมีความเชื่อว่าจะทำให
การเผาผลาญไขมัน และพลังงานสะสมดีขึ้น แต่ ยากลุ่มนี้มีผลต่อหัวใจหลอดเลือด
ทำให้ใจสั่น ความดันโลหิตสูง หัวใจล้มเหลว หัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตายได้
เป็นยาที่มีความ อันตราย อย่างมาก ในคนปกติ หากว่ากิน จะมีอาการเหมือนเป็น
คอพอกเป็นพิษ ใจสั่น วูบวาบ
4.ยาขับปัสสาวะ มักเป็นLasix หรือ HCTZ ซึ่งเร่งในการขับน้ำ และแร่ธาตุออกจากร่างกาย
ซึ่ง มีผลเสียต่อร่างกายโดยตรง ทำให้ร่างกายสูญเสียสมดุลย์ ของน้ำ มีความเสี่ยงที่
จะมีกรดยูริก สูง เป็นที่มาของโรค เกาต์ และโรคหลอดเลือด รวมทั้ง กล้ามเนื้ออ่อนแรง
ตะคริว และ หัวใจที่เต้นผิดปกติ ทั้งยังไม่ได้ผลในการควบคุมน้ำหนักแต่อย่างใด เพียงแต่แค่ รีดน้ำออก
จากร่างกาย เมื่อเราทานน้ำกลับไปทุกอย่างก็จะกลับคืนมา
5.ยาถ่าย หรือยาระบาย ที่จะไปเร่งระบบของการบีบตัวของ ลำไส้ใหญ่ ซึ่งได้พูดไปแล้ว
ในเรื่องของยาระบายข้างต้น
6.วิตามิน เพื่อชดเชยการสูญเสียวิตามิน จากการใช้ยาลดความอ้วน
7.ยากลุ่ม บีต้า บล๊อกเกอร์ B-Blockers ยา จะลดอาการใจสั่น ที่มีผลข้างเคียง
จากอนุพันธุ์แอมเฟตามีน และ ธัยรอยด์ฮอร์โมน ยากลุ่มนี้ ปกติใช้รักษา ความ
ดันโลหิตสูง ยาออกฤทธิ์ยับยั้ง ประสาท กระตุ้นการทำงานของ หัวใจ Sympsth
omimetic effect ที่หัวใจจะลดจำนวนเลือดที่จะบีบออกจากหัวใจใน
แต่ละคร้ง Cardiac output ลดอัตราการเต้นของหัวใจเป็นต้น
8.ยานอนหลับ เนื่องจากผลข้างเคียงของ ยากลุ่มอนุพันธ์ แอมเฟตามีน ซึ่งกระตุ้น
ระบบประสาท ทำให้นอนไม่หลับ
9.ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด ถ้าไม่ให้ในขนาดที่สูงจนเกินไป ร่างกายก็จะยังพอทนได้
ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 50 mg/dl ก็จะเกิด อาการชักได้ ให้ระวังเอาไว้ด้วยสำหรับ
ขนาดยาที่ได้รับ
10.ยาหลอก จะเป็นแป้ง เพื่อใส่ไปให้ดูเยอะ ไม่มีความหมายอะไร แต่บางทีก็อาจจะ เป็น
วิตามิน เล็กๆน้อยๆเพื่อที่จะได้ คิดเงินค่ายา แพงๆได้ ยาจะเป็น แคปซูล สีเทาแดง บางที
เป็นยาที่ทำปลอม หรือ ยาที่ถูก พิกถอนไปแล้ว กินเข้าไป ก็ตายได้
สำหรับบทนี้ ผมก็ขอฝากไว้คร่าวๆ ในบทหน้าจะพูดถึง ยาที่อยู่ใน การควบคุม ยาที่มี
ผลต่อจิตประสาท มีอะไรบ้าง กินแล้ว เป็นอย่างไร ในบทนี้ก็คงฝากไว้แต่เพียง ยาชุด
เท่านั้นครับ
ขอบพระคุณครับ