วันอังคารที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ยาลดความอ้วน 2

บทที่ 16 ยาลดความอ้วน 2 


ก่อนที่จะทำการ ลดน้ำหนักโดยการใช้ยา นั้น ควรที่จะทำการ ควบคุมอาหาร ออกกำลังกายและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสียก่อน แต่หากว่า ภายใน 3เดือน ไม่สามารถลดน้ำหนักได้10%ของน้ำหนักเดิม
หรือมีค่าดัชนีมวลกาย BMi มากกว่าหรือเท่ากับ 30 กิโลกรัมต่อ ตารางเมตร รวมทั้งผู้ที่มีดัชนีมวลกาย มากกว่าหรือเท่ากับ 27 กิโลกรัมต่อ ตารางเมตรที่มีปัจจัยเสี่ยงเช่น เบาหวานความดันโลหิตสูง หรือ ไขมันในเลือดสูงผิดปกติ โดยต้องมีการซักประวัติตรวจร่างกาย ก่อนใช้ยาเสมอ


ยาที่ใช้ลดความอ้วนในปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ

1.การออกฤทธิ์ใน ระบบทางเดินอาหาร ได้แก่



1.1สารที่พองตัวได้โดย ส่วนมีลักษณะเป็นอาหารเพื่อการควบคุมน้ำหนักที่ให้เส้นใยเช่นพวก สารสกัดจากหัวบุก ซึ่งไม่ให้พลังงาน และ สามารถพองตัว เพื่อให้เรา อิ่มอยู่ท้องได้นาน จัดเป็นอาหารที่เป็นตัวช่วยในการควบคุมน้ำหนัก เพราะไม่มีอันตรายโดยตรงเหมือนอาหารเสริมเพื่อลดน้ำหนักอื่นๆ เช่นพวก ยาระบาย ยาขับปัสสาวะแต่ผู้ใช้ก็ต้องระวังการใช้ด้วยเนื่องจาก พบว่า การใช้ อาหารจำพวกนี้ จะทำให้ลำไส้อุดตันได้ รวมทั้ง ถ้าหากว่าทานน้ำน้อย ก็อาจจะทำให้ อุจจาระแข็งได้เนื่องจาก อาหารที่ใช้ในการควบคุมน้ำหนักในลักษณะนี้ จะมีกลไก การพองตัวจากน้ำ ดังนั้น ถ้าหากเราทานน้ำน้อยก็มีโอกาสที่ จะทำให้ อุจจาระแข็งตัว ทำให้ถ่ายยาก และอาจจะแข็งจนต้องผ่าตัดเพื่อนำเอาอุจจาระที่แข็งตัวออกมา




1.2  ยาที่ช่วยยับยั่งการดูดซึมอาหาร พวกไขมัน Digestion inhibitorsเช่น orlistat เป็นยาลดความอ้วนที่มีกลไกการออกฤทธิ์ โดยทำการยับยั้งเอนไซม์ ในกระเพาะที่ทำหน้าที่ในการย่อยไขมัน ทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมไขมันเข้าสู่ร่างกายได้  และขับถ่ายออกมา orlistat จะออกฤทธิ์กับ อาหารที่มีไขมันเท่านั้น  แต่จะได้ผลดี ก็ต้องใช้ควบคู่กับการควบคุมอาหารด้วย ขนาดยาที่ใช้ ในไทยเราจะมีเป็นชนิด แคปซูล ขนาด 120 มิลลิกรัม โดยปกติจะทานครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 3 เวลาพร้อม หรือหลังอาหาร ไม่เกิน 1 ชั่วโมง ไม่ควรใช้ต่อเนื่องเกิน 6 เดือน orlistat มีผลยับยั้งไขมันได้สูงสุด 30 %ของปริมาณ ไขมันในอาหารที่เรากินเข้าไป
orlistat เป็นยาที่มีผลต่อพฤติกรรมการทานของผู้ควบคุมน้ำหนักเนื่องจาก ทำให้มีความเชื่อว่า เมื่อไขมันในอาหารที่ทานเข้าไปถูกดักจับ แล้วขับถ่ายออกมาทำให้กินแล้วไม่อ้วนจนมีคำโฆษณา ชื่อยาชนิดนี้ว่า เป็นยา ดักไขมัน ซึ่ง ในความเป็นจริงแล้ว สาเหตุที่เราอ้วนเกิดมาจาก ไขมัน ก็จริง แต่เป็นไขมัน ที่เป็นพลังงานที่เหลือจาก การนำไปใช้จากการทาน คาร์บ อาหาร พวก ข้าว แป้ง น้ำตาล ที่ เหลือจากการนำไปใช้แล้ว เปลี่ยนสภาพเป็น ไตรกลีเซอร์รัย อยู่ในเนื้อเยื่อไขมัน

ผลเสียจากการใช้ยา orlistat

ถึงแม้ยาตัวนี้จะไม่มีผลถึง แก่ชีวิต แต่ก็มีผลเสียจาก กลไกการออกฤทธิ์ ของยาเอง ที่ทำให้ ไขมันไม่ถูกย่อย ทำให้เวลาถ่ายออกมามีไขมันปะปนออกมาด้วย และ ถ่ายอุจจาระบ่อยขึ้น ควบคุมการขับถ่ายได้ลำบาก ปวดท้อง มวนท้อง ไม่สบายท้อง ผายลมบ่อย ซึ่งมีโอกาสสูงที่จะเกิด ผลดังกล่าวมาข้างต้น ความรุนแรงก็จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคลผู้ใช้ยา orlistat มีความเสี่ยงที่จะขาดวิตามินที่ ละลายได้ในไขมันจึงมีความจำเป็นต้องทานวิตามินเสริมเข้าไปด้วย

ผลทางอ้อม สามารถลดระดับ total cholesterolและ LDL-cholestrolในเลือด และทำให้ภาวะGlucose tolerance ดีขึ้นในระยะเวลาสั้นๆและไม่มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง

อาการแพ้ต่อยา orlistat
มีความเสี่ยงต่อความผิดปกติของตับ ได้ ซึ่งหากมีความรุนแรง ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นเช่น เบื่ออาหาร ตัวเหลือง ตาเหลือง มีผื่นคันปัสสาวะมีสีเข้ม อุจจาระมีสีซีด ปวดท้องรุนแรง ในกรณีที่แพ้ยาตัวนี้ ยาตัวนี้เป็นยาที่มีข้างเคียงที่น้อย แต่ควรใช้ควบคู่กับการควบคุมอาหาร และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งต้องคอยสังเกตุอาการตัวเอง ด้วย เพราะคำว่ายา ไม่มีอะไรปลอดภัย 100%


2.ยาในกลุ่มที่ออกฤทธิ์ในระบบสมองส่วนกลาง โดยยาพวกนี้จะมีวัตถุประสงค์ในการควบคุมระดับ ของ serotonin และ  catecholamine ซึ่งสารทั้งสองตัวนี้ เป็นสารเคมี ที่มีผลในการควบคุม ความอิ่ม และ หิวของคนเราพูดง่ายๆคือ ไปควบคุมไม่ให้หิว ก็จะได้ไม่กิน ไม่กินก็ไม่อ้วน คิดกันยังงี้เลยทีเดียว
แต่ ยาที่ใช้ในกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่จะมีผลในทาง จิตประสาท หรือที่เรียกว่า เป็นยาจิตเวช  ซึ่งเคยมีรายงานในสมัยก่อนว่า ยาบางตัวมีผล ให้มีการฆ่าตัวตาย แต่ในภายหลังมีข้อมูลแก้ไข ว่าไม่จริง แต่มันก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการฆ่าตัวตายในกลุ่มของผู้ใช้ยา ชนิดนี้ เนื่องจาก อนุพันธ์ของยา เป็นลักษณะเดียวกันกับยาบ้า คือ แอมเฟตามีน  ยาในกลุ่มนี้จะสามารถแบ่งย่อยออกมาได้เป็น 3กลุ่มตามการออกฤทธิ์ของยา โดยแบ่งได้ดังนี้


2.1ยาที่ออกฤทธิ์ผ่าน Serotoninergic pathway ยาสองตัวในกลุ่มนี้ ได้แก่ Fenfluraine และ Dexfenfluramine ปัจจุบันพบว่ายาเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับ การเกิดภาวะ ผิดปกติของลิ้นหัวใจ  จึงมีการถอนตำรับที่มี สารทั้ง2ตัวออกจากการวางจำหน่ายในท้องตลาด ในปี พศ 2543 โดยประกาศของกระทรวงสาธารณสุข
ตัวอย่าง เช่น Dexfenfuramine, Fenfuramine
ปัจจุบันยาดังกล่าวบริษัทผู้ผลิตได้ถอนออกจากท้องตลาดแล้วตั้งแต่เดือนกันยายน 2540 เนื่องจากมีรายงานการเกิดลิ้นหัวใจรั่วและอาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ pulmonary hypertension ถ้าใช้ยาในขนาดสูงนานเกินกว่า 3 เดือน ซึ่งกลไกเกิดจากระดับ serotonin ที่สูงขึ้น



2.2ยาที่ออกฤทธิ์ผ่าน Catecholamine pathways ยา Phentermine,Diethypropion,Amfepramone Mazindol ซึ่งอย่างที่บอกไปข้างต้นว่า Cathine เป็นสารเคมี ที่มีคุณสมบัติกระตุ้นประสาทส่นกลางซึ่งจะมีผล ทำให้ไม่หิว และอิ่มได้นาน และเร็ว ซึ่งการควบคุมระบบประสาทส่วนกลางก็จะมีผลข้างเคียง ของยาคือ ทำให้นอนไม่หลับ ปวดศรีษะ กระวนกระวายความดันโลหิต ที่จะสูงขึ้น หัวใจเต็นเร็ว ปากแห้ง เหงื่อออก คลื่นไส้ ท้องผูก ถ้าใช้นานๆจะเกิดภาวะติดยา กระทรวงสาธารณสุขจึงมีการจัดให้เป็น วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ประเภท 2 ซึ่งจะมีการจำหน่ายได้ก็ต่อเมื่อ มีคำสั่งแพทย์เท่านั้น และยังต้องควบคุมสถานที่ขายต้องมีใบอณุญาติ และทำรายงานการจำหน่ายด้วย

ตัวอย่างเช่น ยา phentermine มีโครงสร้างในกลุ่ม phennethylamine ซึ่งคล้าย แอมเฟตามีนamphetamineนำมาใช้ในการลดความอยากอาหาร phentermine หมวดวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไม่สามารถ ซื้อหาได้ตาม ร้านขายยาทั่วไป  แต่ต้องมาพบแพทย์ในสถานพยาบาลเท่านั้น เพื่อควบคุมผลของ ยา และ ปรับขนาดของยา

ยาเฟนเทอร์มีน เป็นยาที่ออกฤทธิ์ กระตุ้นประสาท ส่วนซีรีรัลคอร์เทกซ์cerebral cortex ทำให้รู้สึกอยากอาหารลดลง  และ ออกฤทธิ์ ภายนอกสมอง  โดยทำให้ร่างกาย หลั่งสารที่เพิ่มการใช้พลังงานของร่างกาย ที่เรียกว่า อิฟิเนฟริน epinephrine หรือ adrenaline จึงทำให้เกิดการเผาผลาญเซลล์ไขมันที่สะสมอยู่ในร่างกาย ทำให้เกิดการลดน้ำหนักภายในเวลาสั้นๆขนาดการจำหน่าย  ยาเฟนเทอร์มีน จะจัดจำหน่ายเป็น แคปซูล 15 และ 30 มิลลิกรัม /แคปซูล ขนาดรับประทาน ผู้ใหญ่จะทาน 15-30มิลลิกรัมต่อวัน1-2ครั้ง รับประทานในเวลาที่ท้องว่างก่อนอาหารเช้าเด็ก ที่อายุต่ำกว่า18ปี การใช้ยาแล้วแต่ดุลพินิจแพทย์การสั่งจ่ายยา ลดน้ำหนักและยาในหมวดเฟนเทอร์มีน


ผลข้างเคียงของยา เฟนเทอร์มีน
ปากแห้ง กระวนกระวาย กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ ปวดศรีษะ ตัวสั่น วิงเวียนศรีษะหากทานในประมาณสูง อาจเกิดผลข้างเคียง เช่น อ่อนเพลียท้องเสีย ท้องผูก ความดันโลหิตสูงซึมเศร้า มีไข้ เกิดความ ผิดปกติของการเต้นของหัวใจ เกิดจิต หรือ ประสาทหลอนเกิดอาการชัก สมรรถภาพทางเพศเสื่อม



Fluoxetine

เพิ่มระบบ ซีโรโทนิน  Fluoxetine เป็นยาต้านอาการซึมเศร้า กลุ่ม SSRI(seletive serotonin re-uptake inhibitor) ออกฤทธิ์ยับยั้งการนำserotonin ที่หลั่งออกมากลับเข้าไปในเซลล์ประสาทอีกครั้งทำให้ปริมาณSerotonin ในช่องว่างระหว่างเซลล์ประสาทมากขึ้น นานขึ้น ทำให้ ระดับ
serotonin สูงขึ้น

serotonin เป็นสารชีวเคมี ที่มีความสัมพันธ์กับอารมณ์ของบุคคลให้รู้สึกสงบเยือกเย็น ลดภาวะวิตกกังวล มีผลข้างเคียงอาจจะง่วงซึมได้ในบางคน

อาหารที่มีผลให้สมองหลั่งสาร serotonin ได้ คืออาหารที่อุดมไปด้วย คาร์บเช่น ข้าว แป้ง น้ำตาล การเกิดสารชีวเคมี serotonin เกิดขึ้นมาได้จากเมื่อร่างกายได้รับสารอาหารประเภท คาร์บเข้าไป จะนำไปสร้างกรด อะมิโนชนิดหนึ่ง เรียกว่าTryptophan ซึ่งร่างกาจจะนำไปสร้าง Serotonin นอกจากคาร์บแล้ว พวกผลไม้จำพวกกล้วยหอม ก็พบว่าอุดมไปด้วย Tryptopphan

Fluoxtine มี ผลข้างเคียงคือ ทำให้ไม่อยากอาหารแม้ทางวิชาการแล้ว ยาตัวสามารถนำมาใช้ในการลดความอ้วนได้ โดย กิน 20-60 มิลลิกรัม ต่อวัน แต่ก็ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

อาการข้างเคียงของยาที่พบ ได้แก่ คลื่นไส้ 12-29% ง่วงซึม5-17% นอนไม่หลับ10-33% ลดแรงกำหนัดทางเพศ 1-11% เบื่ออาหาร 4-11% ท้องเสีย 8-18%อ่อนเพลีย7-21% สั่น 3-13% นกเขาไม่ขัน  1-7% เหงื่อมาก2-8% หูอื้อ อาการเหมือนเป็นไข้หวัด ความผิดปกติในการมองเห็นผื่นคัน ท้องเสีย น้ำหนักลด2% ฝันผิดปกติ ฝันแปลกๆ ปวดเค้นหน้าอก และอื่นๆ เช่น มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย มีพบได้น้อย แต่รุนแรง เช่น อาการแพ้ ผมร่วง ปวดเค้นหน้าอก หัวใจเต้นผิดปกติ หอบต้อกระจก หัวใจล้มเหลว ดีซ่านจากการยับยั้งการไหลของน้ำดี ไตวาย ตับพัง Stevens johnson syndrome 

us fda ระบุข้อบ่งใช้ขนาดยา ชนิดนี้ไว้ว่า ควรใช้ไม่เกิน20-60 มิลลิกรัม ต่อ วัน

การใช้ยา Fluoxetine มีผลต่อความคิดอยากฆ่าตัวตายได้ แม้ว่าจะมีรายงานการทดสอบ ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นงานวิจัยใหม่หักล้างว่า ไม่มีผลต่อการคิดฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นข้อหักล้างความเชื่อเดิมที่มีมาว่า Fluoxetine มีผลต่อการคิดฆ่าตัวตาย แต่ไม่ว่างานวิจัยจะออก มาอย่างไรก็ตาม ในการใช้ยา ควบคุมน้ำหนักที่มีผลต่อจิตประสาท ก็ยังคงต้องอยู่ในความควบคุมอย่างใกล้ชิดของแพทย์อยู่ดี ถึงแม้ว่ายาตัวนี้จะมีการใช้มากว่า 20 ปีแล้ว ก็ตาม

2.3ยาที่ออกฤทธิ์ผ่าน Noradrenergic และ Serotoninnergic,pathways ยา Sibutramine ไซบูทามีน ทำหน้าที่เพิ่มความรู้สึกอิ่มโดยการยับยั้งการเก็บกลับ ของ Serotonin ซีโรโทนิน และ Noradranaline


ตัวอย่างเช่น ยา sibutramine
เป็นยาลดความอ้วนที่เห็นผลในระยะเวลาไม่นาน เป็นยาที่มีข้อบ่งใช้สำหรับรักษา และ ควบคุมอาหาร obesity เป็น ยาควบคุมพิเศษห้ามสั่งจ่ายโดยไม่มีแพทย์  กลไกการทำงาน ยับยั้งการเก็บกลับReuptake ของสารสื่อประสาทserotonin และ นอร์อีพิเนฟริน norepinephrine ที่บริเวณสมองส่วน ไฮโปธาลามัส Hypothalamic area ลดความอยากอาหาร และ ทำให้อิ่มเร็วรวมทั้งกระตุ้นการเผาผลาญได้ด้วยขนาดยาที่เริ่มต้น  10 มิลลิกรัม ต่อวัน  หลังจาก 4 สัปดาห์ ก็จะมีการพิจารณาขนาดยาเพิ่มได้ แต่ต้องตรวจความดันโลหิต และ อัตราการเต้นของหัวใจก่อนปรับขนาดยา สูงสุดไม่ควรเกิน 15 มิลลิกรัมต่อวัน หากไม่สามารถทนต่อยาได้ ให้ลดเหลือ 5 มิลลิกรัมต่อวัน

การใช้ยา sibutramine ต้องมีบุคลากรทางการแพทย์คอยติดตามระดับความดันโลหิต และ อัตราการเต้นของหัวใจผู้ป่วยเสมอ และหยุดใช้ ยาเมื่อมีอาการผิดปกติ เกี่ยวกับความดันโลหิตและ อัตราการเต้นของหัวใจ นอกจากนี้หากลดน้ำหนักได้น้อยกว่า 5% จากน้ำหนักตัวเดิม ใน 3-6 เดือนห้หยุดใช้ยา เนื่องจากใช้ยาไม่ได้ผล

ผลข้างเคียงของยา ทำให้ปากแห้ง คอแห้ง ท้องผูก ปวดศรีษะ นอนไม่หลับ เบื่ออาหารยาตัวนี้มีปัญหาต่อระบบ หัวใจ หลอดเลือด  จนองกค์กรอาหารและยาสหรัฐออกมาเตือนยาตัวนี้ต่างจากตัวอื่นอย่างไร ในด้าน อาการไม่พึงประสงค์ไม่ค่อยต่างแต่ยาลดความอ้วน กลุ่มเดิมๆมักมีปัญหาโยโย่ มากกว่า รวมทั้งอาการใจสั่นนอนไม่หลับ แต่ปัญหานี้จะมีน้อยในยาตัวนี้แต่ ไปพบ ปัญหาเรื่องหัวใจ และ หลอดเลือดมากกว่าไซบูทรามีน ทำให้ความดันโลหิตสูง และหัวใจเต้นเร็ว

4.Hormonal manipulation เป็นยาใหม่ที่ใช้รักษาเพื่อลดน้ำหนัก ได้แก่ Leptinanalogue,Neruropeptide Y anatagonist,Cholecystokinin,Glucagon,Glucagon-like peptide-1
ยกตัวอย่างเช่น ยา Neuropeptide Y antagonist ทำหน้าที่ยับยั้ง  Neuropeptide Y (NPY)ที่ทำหน้าที่กระตุ้นให้ทานอาหารมากขึ้น ทำให้ความอยากอาหารลดลง

สำนักงาน อย ควบคุมการใช้ยาลดความอ้วน ที่จัดเป็นยาออกฤทธิ์ต่อจิต ประสาทโดยโควต้า คลินิกละ 2000 เม็ดต่อเดือน ต้องส่งรายงานการใช้ยา กับ อย ทุกเดือน



สรุป
หากได้อ่านบทความนี้ คงจะรู้ว่า ทำไม ยาพวกนี้จึงเป็นยาควบคุม ที่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดเท่านั้น เพราะความอันตราย และ รายละเอียดการใช้ ทั้ง อาการข้างเคียง การแพ้ยาที่อาจเกิดได้ ทำให้ ผู้ใช้ยาชุด ที่มีกลุ่มนี้อยู่ จึงเป็นอันตราย ถึงแก่ชีวิตได้ แต่ทั้งนี้ ยาเหล่านี้ก็ยังจัดเป็นยาที่ผลใช้ในการรักษา โรคอ้วนได้ ผลดี แม้จะมีอันตรายก็มีคุณประโยชน์ด้วยเช่นกัน ขอให้มีความรู้ และอยู่ในความดูแลของแพทย์เชื่อว่าจะมีประโยชน์มากกว่าโทษแน่นอนครับ