วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ไขมันในเลือดสูง



ผู้มีไขมันในเลือดสูง



คำว่าไขมันในเลือดสูงเราจะวัดจาก ค่าหลักๆ 2 ตัว คือ

1.ไตรกลีเซอร์รัย สูงเกิน 200 

2.คลอเลสเตอร์รอล สูงเกิน 200

 ในกลุ่มที่ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง  เราจะดู 2 ตัวคือ 

1.คลอเลสเตอร์รอล ที่ไม่ดี เราจะเรียกว่า LDL ซึ่ง เป็น ทำหน้าที่นำพาเอาคลอเลสเตอร์รอล ให้วิ่งไปตามเส้นเลือด และมีหน้าที่ในการ พอกซ่อมแซมหลอดเลือดที่ชำรุดเสียหาย 

2.คลอเลสเตอร์รอล ที่ดี เราจะเรียกว่า HDL ซึ่งจะทำหน้าที่ พาเอาคลอเลสเตอร์รอล ในกระแสเลือด ที่เกิน เก็บกลับไปที่ตับ เพื่อเปลี่ยนเป็น ฮอร์โมนต่างๆ ฉนวนหุ้มปลายประสาท และอื่นๆอีกมากมาย


คลอเลสเตอร์รอล นั่นเป็น สิ่งที่ไม่ได้เป็นอันตราย อย่างที่ความเชื่อ ที่เรามีต่อ ไขมันที่รับประทานกันทุกวันนี้ หากแต่เหตุผลที่ มันมีความอันตราย เกิดจาก การที่ร่างกาย เรามี อนุมูลอิสระ (อนุมูล เกิดจาก การเผาไขมัน  หรือ สภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ รวมทั้งอาหารที่ทานบางอย่างทำให้เกิดอนุมูลอิสระ) ที่วิ่งเข้าโจมตี คลอเลสเตอร์รอล ที่วิ่งอยู่ในกระแสเลือด จนเกิดการจับกัน และ แปรสภาพ ตกตะกอน  ตามหลอดเลือดของเรา ซึ่งถ้าในเวลาปกติ ที่ คลอเลสเตอร์รอล วิ่งอยู่ในกระแสเลือด นั้น ไม่ได้เป็นอันตรายใดๆกับเราเลย การที่ เรามี LDL มาก ก็เลย กลายเป็นอันตราย กับร่างกาย เนื่องจาก LDL นำพา คลอเลสเตอร์รอล ให้วิ่งไปใน หลอดเลือด แต่หากว่า เรามี HDL มาก ซึ่งทำหน้าที่ นำ คลอเลสเตอร์รอล กลับไปเก็บในตับมาก เราก็ไม่มีความจำเป็นต้องกลัวว่า ปริมาณคลอเลสเตอร์รอล  จนเกินเหตุไป หากมี ปริมาณ HDL ที่มากพอ


ในคนที่ผอม ก็สามารถ พบอได้ว่า มีปริมาณ คลอเลสเตอร์รอล ที่สูง เนื่องจากร่างกายของเรา สามารถ สร้างได้เอง จากลำไส้ และตับ ในคนผอมก็สามารถ พบว่าคลอเลสเตอร์รอล เกินได้ เนื่องจาก กรรมพันธุ์

คลอเลสเตอร์รอล มีความสำคัญในการ สร้าง วิตามินดี และสร้งา อื่นๆของร่างกาย แต่ถ้ามีเยอะไป ร่างกายก็จะสามารถกำจัด ออกเองได้ แต่ปัญหา ส่วนใหญ่เกิดจากการ กำจัดไม่หมด เพราะมีการรับ จากภายนอกร่างกายที่มากเกินไป หรือมี LDL ที่มากเกินไป ทำให้ความเสี่ยงที่ คลอเลสเตอร์รอล จะตกตะกอนจากการ จับกับ อนุมูลอิสระ จึงมีมาก ซึ่งผลของการตกตะกอน นั้นทำให้ หลอดเลือด มีการบวม จนตีบ ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายไม่ได้ ถ้าเป็น ที่บริเวณเส้นเลือดที่ไปเลี้ยง หัวใจ ก็จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ  ถ้าไปเป็นบริเวณ สมองก็เป็นโรค หลอดเลือดสมอง หากว่าเป็นในบริเวณ หลอดเลือดที่มีความสำคัญ ถ้าไปกดเซลล์สมองที่บังคับร่างกายก็จะเป็นอัมพาต ท้ังยังทำให้ เลือดไปเลี้ยงส่วนอื่นๆไม่สะดวก เกิดมีอาการ มือไม้ชาได้อีกด้วย 


ลักษณะของคลอเลสเตอร์รอล จะมีลักษณะที่คล้ายกับ แว็ก หรือน้ำตาลเทียน ที่หากเราบี้ไปแล้ว ก็จะติดมือ เหมือนขี้เทียน
  
นอกจากที่รา่งกายสามารถสร้าง คลอเลสเตอร์รอลเองได้แล้ว ยังพบมากในอาหาร จำพวก เครื่องใน อาหารทะเล และไข่ไก่ ด้วย ซึ่ง โดยปกติ ในภาวะที่ระบบของร่างกายปกติ ร่างกายจะสามารถกำจัดได้ โดยน้ำดีจะพา ออกไป หรือเก็บไว้ที่ัตับ  


ความเสี่ยงของผู้มีน้ำหนักเกิน จะเกิดได้จากการกินอาหารที่มีไขมัน อิ่มตัว สูง ทำให้ปริมาณคลอเลสเตอร์รอล สูง

ไขมันอิ่มตัว ส่วนใหญ่ คือ ไขมันที่ เวลาเอามาตั้งในอุณหภูมิห้อง แล้วเป็น ของแข็ง เช่น น้ำมันหมู ที่ทิ้งไว้แล้วจะเป็นไขขาวๆ เรียกว่าไขมันอิ่มตัว คำว่าอิ่มตัวคือเป็นของแข็งในอุณหภูมิห้อง ถ้าทานเยอะๆ จะมีงานวิจัยว่าทำให้คลอเลสเตอร์รอล เพิ่มขึ้นด้วย จริงๆ คลอเลสเตอร์รอล มีมากใน ไข่แดงในอาหารทะเล
แต่จะไม่มีความน่ากลัว ถ้าเรามี HDL มาก เพราะ HDLจะพา คลอเลสเตอร์รอลไป ไว้ในตับ 

ไตรกลีเซอร์รัย เป็นไขมันที่เป็นอันตรายเช่นกัน ส่วนใหญ่จะมาจากน้ำตาลทราย จากกะทิ  ในกะทิทั้งที่เป็นพืช เมื่อกินเข้าไปจะเปลี่ยนเป็น ไตรกลีเซอร์รัย



ไขมันไม่อิ่มตัว คือ ไขมัน ที่ในอุณหภูมิห้อง ก็จะไม่แข็งตัวในอุณหภูมิห้อง เช่นน้ำมันพืช ที่ช่วยลดระดับคลอเลสเตอร์รอลได้ แต่ว่าไม่ควรทานมากเกินไป ควรใช้ให้หลากหลาย น้ำมันปาล์ม มีไขมันชนิดอิ่มตัว เหมือน้ำมันสัตว์เพราะเวลาทอด แล้วของเหลืองเร็ว น้ำมันเป็นสีดำได้ช้ากว่าน้ำมันอื่น เพราะมีความอิ่มตัวมาก นิยมทอดซ้ำ

ถ้าทอดให้ใช้น้ำมันปาล์ม ทอด น้ำมัน ทนต่ออุณหภูมิสูงๆได้เพราะ ทนความร้อนได้นาน

ถ้านำไปผัด ซึ่งหมายถึง กินน้ำมันพืชนั้นไปด้วย น้ำมัน ถั่วเหลือง น้ำมัน รำข้าว
น้ำมันควรใช้หลากหลาย เพราะแล้วแต่การใช้งาน 

สำหรับบทนี้ ผมขอแตะ ในเรื่อง ไขมัน อิ่มตัว และ คลอเลสเตอร์รอล ไว้นิดหน่อย ว่า น้ำมันพืชที่เราทานกัน เพื่อ ลดปริมาณ คลอเลสเตอร์รอล นั้นมีส่วนให้ การเกิดโรค หลอดเลือด ลดได้จริงหรือไม่ แล้วจริงๆ เราควร จะเชื่อ ต่อไปไม๋ว่า การมีคลอเลสเตอร์รอลมากๆอันตราย สำหรับบทนี้ก็ขอฝากไว้เล็กๆแค่นี้ครับ 

ขอบพระคุณครับ