หลายคนอาจจะคิดว่า น้ำตาล หรือ สารที่ให้ความหวาน แต่ละชนิดนั้นเหมือนกัน คือ กินแล้วอ้วนเท่ากัน แต่ความจริงแล้วมันไม่ใช่ ความจริงแล้วน้ำตาล หรือ สิ่งที่ให้ความหวานกับอาหาร นั้น ให้ความหวาน และพลังงานที่ต่างกันมากมาย ผมอยากจะพูดถึง คร่าวๆ ถึง น้ำตาล 3 ชนิด เป็นเบื้องต้น
น้ำตาล 3 ชนิด
ที่ว่ามีความแตกต่างกัน โดยที่ คนที่กิน ก็มักจะแยกไม่ออก และคิดว่า ผลของมันเหมือนกัน ที่ผมอยากเขียน บทนี้ เพราะมีคน เคยถามผมว่า ผมบอกว่า ถ้าออกกำลังกาย คุณสามารถ กิน น้ำตาลกลูโคสได้ มีคนถามผมว่า แล้วมันไม่อ้วนเหรอ ก็มันเป็นน้ำตาล นะ
น้ำตาล นั้น ถ้าจัด ในลักษณะ ที่เราใช้ทั่วๆไป ในเมืองไทย 3 ชนิด คือ
1.น้ำตาลกลูโคส
เป็นน้ำตาล ที่ดูดซึมผ่านลำไส้ แล้วจึงเข้าสู่กระแสเลือด และ จะถูก อินซูลิน ขนส่ง กลูโคส จากกระแสเลือดไปสู่ เซลล์ต่างๆของร่างกาย ส่วนที่เหลือ ก็จะไปเก็บ เป็นไกโคเจน ในตับ และ กล้ามเนื้อ ซึ่ง มันจะมีประโยชน์ในคนที่ออกกำลังกาย เช่นเล่นเวต ที่จะทำให้ กล้ามเนื้อมีความเต็ม แน่นขึ้น
2.น้ำตาลฟรุกโตส
เป็นน้ำตาล ที่มีความต่างกับ น้ำตาล กลูโคส พอสมควร คือ มันเป็น น้ำตาล ที่จะไม่ผ่านการจัดการ ของอินซูลิน และ เป็นน้ำตาลที่
3.น้ำตาลซูโคส
เป็นน้ำตาล ที่มีส่วนผสม ของน้ำตาล กลูโคส และ น้ำตาล ฟรุกโตส อย่างละ ครึ่ง ซึ่งก็คือน้ำตาลที่ ผลิตมาจากอ้อย ที่เราใช้กันทั่วไปนั่นเอง
น้ำตาล และสารให้ความหวาน ที่เรากินกันนั้น มีหลายประเภท ยกตัวอย่างเช่น HFCS( น้ำเชื่อมข้าวโพด ฟรุกโตส สูง )/ซัคคาลิน/หญ้าหวาน/ซูคราโลส/แอสปาแตม/น้ำผึ้ง/น้ำเชื่อมอากาเว/แลคโตส เป็นต้น นั้นล้วนเป็นสารที่ให้ความหวาน ที่เราใช้รับประทานกัน แต่ก็มี ควานแตกต่างกัน ทั้งความหวาน และ องค์ประกอบ ของความหวานนั้น
ยกตัวอย่างเช่น
แลคโตส ซึ่งเป็นน้ำตาล ที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ นม ซึ่งเป็นส่วนผสมของ กาแลคโตส กับ กลูโคส ซึ่งจะมีความหวานที่น้อย กว่าน้ำตาลทราย หรือ น้ำตาล ซูโครส ที่เราทานกันอยู่มาก แต่ก็ยังจัดเป็นน้ำตาลอยู่เหมือนกัน
ซูคราโลส ซึ่งเป็นสารให้ความหวาน อีกชนิดหนึ่ง ที่ให้ความมากกว่า น้ำตาล ทรายบ้านเรามากถึง 600 เท่า ซึ่งผลิตจากกระบวนการ สังเคราะห์เอาจาก อะตอมคลอรีน ที่ เข้าไปแทนที่ ไฮโดรเจน และ ออกซิเจน ที่อยู่ในน้ำตาลปกติ มักใช้ใน อาหารหวาน ที่มี แคลลอรี่ต่ำ ก็มีกระบวนการผลิต ทางเคมี ที่ต่างไปจากน้ำตาลปกติ
ซัคคาริน ซึ่งผลิตมาจาก กำมะถัน ผสม กับสารเคมีเชิงซ้อนอีกหลายชนิด เป็นสารให้ความหวานที่มักพบใน น้ำอัดลม ซึ่ง ซัคคาริน ช่วยให้น้ำอัดลม คงอยู่ได้นานขึ้น
แอสปาร์แตม เป็นสารให้ความหวาน อีกชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากการรวมตัวของ กรดอะมิโน 2 ชนิด และให้แคลลอรี่ต่ำ ก็มักพบใน น้ำอัดลม และ เครื่องดื่ม และ อาหาร ที่แคลอรี่ต่ำ
HFCS - 42 หรือ น้ำเชื่อมข้าวโพด ฟรุกโตส สูง ซึ่ง ในสูตรนี้ จะมีประมาณ ฟรุกโตส 42 เปอร์เซ็น และ กลูโคส 58 เปอร์เซ็น ส่วนมากพบใน เบเกอรี่
HFCS - 55 เป็นอีกสูตรหนึ่ง ซึ่งจะมี ฟรุกโตส มากกว่า คือ 55 เปอร์เซ็น ที่เหลือ 45 เปอร์เซ็น คือ กลูโคส และมีรสที่หวานกว่า สูตร 42 เพราะมี ฟรุกโตส มากกว่า
น้ำตาล หญ้าหวาน สารให้ความหวานที่สกัดจาก ไม้พุ่ม ที่เป็นพืชท้องถิ่น ของอเมริกาใต้ ให้ความหวาน แต่ ไม่มีแคลลอรี่ ซึ่งในปัจจุบัน ก็แนะนำให้ ทานตัวนี้เป็นสารให้ความหวาน ที่นิยมกัน
ดังนั้น อาจจะบอกได้ว่า น้ำตาลเหมือนกัน แต่ก็อาจจะให้ผลที่ต่างกันได้ โดยดูจาก น้ำตาล ฟรุกโตส ที่ไปผสมอยู่ ถ้ามีมาก ก็จะหวานมากขึ้น แต่ก็จะมีปัญหาการสะสมไขมันที่เพิ่มมากขึ้นด้วยเหมือนกัน แต่ น้ำตาล ที่สังเคราะห์ ขึ้นมา ก็ใช่ว่า จะทำให้ไม่อ้วน เสมอไป เพราะในระยะหลัง มีงานวิจัยว่า การกิน น้ำตาลเที่ยม หรือสารทดแทนความหวาน กลับทำให้อ้วนเพิ่มขึ้นด้วย แต่จะเป็นเพราะอะไร ไว้ คราวหน้า ผมจะมาพูดถึง นะครับ
MICHELLE WATERSON
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น