เนื้อเรื่องบทนี้เป็น บทพิเศษจากความรู้เข้าใจส่วนตัวของผมที่ผ่านมาเกี่ยวกับ เรื่องลมหายใจ และกำลังภายใน อาจจะมีบางส่วนที่ที่ฟังดูประหลาดหูไปบ้าง หากแต่เป็นการลำดับความมาจากการอ่าน และรับฟังมาจากผู้รู้อีกทีนึง
สำหรับเรื่องของลมหายใจ มีการพูดกันถึง วิชาลมปราณ ซึ่งในที่นี้มีความหมายถึงการใช้ลมหายใจลมให้เกิดกำลังขึ้นภายใน ผมไม่รู้ว่าใครเป็นผู้ ที่บัญญัติ คำนี้ขึ้นมา เพราะมันเป็นความหมายที่บ่งบอกคุณลักษณะที่แท้จริง ของกำลัง ที่เกิดจาก การรวมลมหายใจ และ สมาธิ เพื่อกำกับ ลมหายใจ เพื่อกักเก็บลมหายใจไว้ในกาย ซึ่ง ก่อให้ เกิด พลัง(ชี่) และพลัง (จิง) ทำให้ก่อเกิดกำลังลมหายใจที่มีประสิทธิภาพ (Vo2Max)
สำหรับเรื่องของลมหายใจ มีการพูดกันถึง วิชาลมปราณ ซึ่งในที่นี้มีความหมายถึงการใช้ลมหายใจลมให้เกิดกำลังขึ้นภายใน ผมไม่รู้ว่าใครเป็นผู้ ที่บัญญัติ คำนี้ขึ้นมา เพราะมันเป็นความหมายที่บ่งบอกคุณลักษณะที่แท้จริง ของกำลัง ที่เกิดจาก การรวมลมหายใจ และ สมาธิ เพื่อกำกับ ลมหายใจ เพื่อกักเก็บลมหายใจไว้ในกาย ซึ่ง ก่อให้ เกิด พลัง(ชี่) และพลัง (จิง) ทำให้ก่อเกิดกำลังลมหายใจที่มีประสิทธิภาพ (Vo2Max)
(Vo2Max) ถ้าเรียกในทาง วิทยาศาสตร์ อาจเรียกได้ว่าเป็นการใช้ลมหายใจให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด การสร้างพลังของกล้ามเนื้อที่ก่อให้เกิดพลังงานกับร่างกาย เกิดจาก ลมหายใจที่นำพา ออกซิเจน , กลูโคส ไปสร้างพลังให้กับกล้ามเนื้อ ความเชื่อ เกี่ยวกับ การใช้ ออกซิเจน ในอากาศ ซึ่งโดยปกติเมื่อเราหายใจเขัาไป ร่างกายจะแยกเอา ออกซิเจน ในอากาศ ได้ เพียง 20 % เท่านั้น ยิ่งความสามารถในการใช้ ออกซิเจน มีมากเท่าไหร่ ก็เปรียบ เหมือนค่า vo2max ก็มีสูงขึ้น ใช้ออกซิเจนได้ดีมีความสามารถในการ ควบคุม ออกซิเจนได้ดี ก็จะมีค่า ความทนทานสูง หรือเรียกว่าอึดนั่นเอง วิชาลมปราณก็เป็นเช่นนั้นเอง มันก็คือ วิชาควบคุม ออกซิเจนในอาการ เพื่อให้ร่างกายสามารถนำ ออกซิเจนมาใช้ได้มากขึ้น จนเกิดกำลังขึ้นภายใน เกิดเป็นความถึก และทนทานของร่างกายตามมา
วิชากำลังภายในมีที่มาและ บ่อกำเนิด มาจากวิชา โยคะ ซึ่งจะมีวิชาแรก ที่จะฝึกเรียนกันในการฝึก โยคะ คือวิชาลมหายใจ เป็นวิชาที่ผู้เริ่มฝึกโยคะ ต้องฝึกกันทุกคน เพื่อควบคุมลมหายใจ
โยคะ = การใช้ ออกซิเจน (Vo2Max) +ความยืดหยุ่น + ISOMETRIC EXERCISE (การออกกำลังโดยใช้กำลังของร่างกายควบคุมท่าทางของร่างกายให้หยุดนิ่ง ในชั่วขณะ หรือที่เราเรียกในภาษาเวต Static level +สมาธิ(อานาปาณะสติ)
วิชาควบคุมลมหายใจ มีใช้อยู่อย่างแพร่หลาย และจริงจัง ในประเทศ จีน แล้วค่อยๆแพร่ต่อมาใน ประเทศข้างเคียง อย่าง ในญี่ปุ่น เกาหลี และแคว้น รอบข้าง ในสมัยก่อน จีน โบราณ จะเรียกวิชา เหล่านี้ว่า วิชายุทธ นอกด่าน คำว่า วิทยายุทธ หรือที่เรียก ว่า กงฟู
กงฟู (功夫) หรือ วูซู (武术)
กงฟู เป็นศิลปะการต่อสู้ของจีนที่มีการแพร่หลายมาหลายศตวรรษ มีความหมายถึงความแข็งแกร่งทางกาย โดยลักษณะที่มุ่งเน้นของพลังงานที่ระบุว่าคือ พลังระบบภายใน (内家拳) ที่มีสมาธิ ในการปรับปรุงและการออกกำลังกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือด
กงฟู (功夫) หรือ วูซู (武术)
กงฟู เป็นศิลปะการต่อสู้ของจีนที่มีการแพร่หลายมาหลายศตวรรษ มีความหมายถึงความแข็งแกร่งทางกาย โดยลักษณะที่มุ่งเน้นของพลังงานที่ระบุว่าคือ พลังระบบภายใน (内家拳) ที่มีสมาธิ ในการปรับปรุงและการออกกำลังกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือด
ที่มาของวิชากำลังภายใน เป็นเสมือน ดังนิยายกำลังภายใน ที่หลายคนเคยอ่านมาแล้ว แรกเริ่มเดิมที ต้องพูดว่า เกี่ยวกับ บทหนึ่งในมังกรหยก ที่มีการพูดถึง เตียซัมฮง ปรมจารย์ แห่งสำนัก บู๊ตึ๊ง ผู้คิดค้น วิชา ไทเก๊ก ที่ภายหลัง ได้แตกแขนง ออกมาเป็นหลายสาขาวิชา ไม่ว่า จะเป็นกำลังภายในของ สำนักบู๊ตึ๊ง เอง กำลังภายในสำนักเส้าหลิน แล้วแตกแขนงออกมา เป็นกำลังภายใน ของสำนัก อื่นๆ
จางซันฟง หรือ เตียซำฮง เป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์จีน มักกล่าวถึงใน ภาพยนตร์กำลังภายใน ที่มีชื่อเสียง เช่น เรื่องดาบมังกรหยก ซึ่งเขียนโดย กิมย้ง หรือจินหยง ยอดนักเขียนนวนิยายกำลังภายในนามอุโฆษ
เชื่อกันว่าจาง ซันเฟิง เกิดเมื่อวันที่ 9 เมษายน คศ 1247 ในปลายรัชสมัยซ้อง ที่ มณฑลเหลียวหนิง มีชื่อเดิมว่า จาง เฉวียนอี โดยที่ชื่อ ซันเฟิง นั้นเป็นฉายาที่เป็นนักบวชใน ลัทธิเต๋า มีชื่อเสียงสมัยราชวงค์หยวน เริ่มเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวบ้านสามัญชน จากการใช้กำลังภายใน การช่วยเหลือคนเจ็บไข้ แล้วมีอายุยืนยาวมาจนถึงราชวงศ์หมิง และค่อย ๆ หายหน้าไปจากหน้าประวัติศาสตร์จีน ท่านใช้ชีวิตมากว่า 200 ปี และไม่มีประวัติการเสียชีวิต และเจ็บป่วย หากใครได้อ่าน มังกรหยกภาค ประมุขพรรค เมงกา จะมีตอนหนึ่งกล่าวถึง การหายไปเฉยๆของ เตียซำฮง อยู่บทหนึ่ง หลายคนเชื่อกันว่า เตียซำฮงสำเร็จวิชาอมตะ และกลายไปเป็นเซียน
มีประวัติของจาง ซันเฟิงในหน้าประวัติศาสตร์มากมาย แต่ที่มีชื่อเสียงคือ การก่อตั้งสำนักอู่ตัง หรือ บู๊ตึ๊ง และการค้นคิดวิชามวยไทเก๊ก และวิชาลมปราณ
วิชากำลังภายในของสำนัก บู๊ตึ๊ง นั้นเดิม มีที่มาจาก เส้าหลิน ที่มีวิชา กำลัง ภายใน เดิมทีมีการฝึกสอน จากปรมจารย์ ตั๊กม้อ ที่ได้นำเอา วิชาลมหายใจ ของ โยคะอินเดีย มาเผยแพร่ต่อ ในจีน พร้อมกับการเผยแพร่ศาสนาพุทธ ที่เดิมก็มีการกำหนดลมหายใจอยู่แล้ว ซึ่ง วิชาลมหายใจก็ได้พัฒนาขึ้นในช่วงนี้นี่เอง หากใครเคยอ่าน มังกรหยก อาจจะเข้าใจ ว่า เตียซำฮง นั้นเป็นแค่ ตัวละครในจินตนาการของ กิมย้ง แต่ ในความเป็นจริงแล้ว กิมย้ง เป็นนักประวัติศาสตร์ งานเขียนของ กิมย้ง ล้วนแต่นำเอา ประวัติศาสตร์ การกู้ชาติ ในยุคต่างๆของจีนมาเขียน ตัวละคร อย่าง เตียซำฮง ก็มีตัวตนอยู่จริง สำนัก บู๊ตึ๊ง ก็มีอยู่จริง เพียงแต่เวลาอ่านออกเสียง ชื่อ ของบุคคล ในประวัติศาสตร์เช่นนี้ จะถูกต้อง หรือไม่ ก็ยากที่จะระบุได้
เตียซำฮง(จางซันฟง) ปรมจารย์แห่ง วิชากำลังภายใน ได้คิดค้น วิชาไทเก็ก ขึ้นมาโดยนำเอา วิชาลมปราณ ของ เส้าหลินมาพัฒนาต่อ เดิมที เตียซำฮง ในวัยเด็กได้แอบฝึกวิชา ในวัดเส้าหลิน แต่ถูกขับไล่ ออกมาจึงได้มาเผชิญโชค และก่อตั้งสำนัก บู๊ตึ๊ง ขึ้น และเผยแพร่ วิชาลมปราณ และ วิชาไทเก๊ก รวมทั้งปรัชญาของสำนัก จนฝังรากลึกเป็นพื้นฐาน ของกงฟู ของจีน สืบต่อมาจนปัจจุบัน
สำหรับบทนี้ เป็นบทพิเศษที่เขียนขึ้นมาสนุกๆแฝง สาระในบางส่วนไว้ ซึ่งในเรื่อง ของวิชากำลังภายใน และ กงฟู นั้นยังไม่ได้หมดเพียงแค่นี้ แต่อยากจะรอไว้โอกาสหน้า คราวต่อไปผมจะมาไข ถึงวิชากำลังภายใน และ กงฟู รวมทั้ง วิชา มวยเหนือ มวยใต้ ที่แบ่งแยกเพลงมวย ออกเป็น มวยเตะ และมวยต่อย และ จุดกำเนิดวิชา มวยหย่งชุน ซึ่งอาจจะไม่เกี่ยวกับการควบคุมน้ำหนักนัก แต่มันคืออีกศาสตร์หนึ่ง ในการพัฒนา การออกกำลังกายของคุณให้ดีขึ้นหากเข้าใจการควบคุมลมปราณอย่างแท้จริง