วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558

liptin ฮอร์โมนที่มีผลต่อการยับยั้ง ความอยากอาหาร วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน

 Liptin กับ ความอยากอาหาร


Liptin เป็นฮอโมน ที่เกี่ยวกับ ความอิ่ม หน้าที่คือ เมื่อเราทานอาหารเข้าไป เลปติน จะส่งสัญญาณไปในสมองเพื่อบอกว่า ให้อิ่มได้แล้ว ซึ่งนี่ก็เป็นฟังชั่นหนึ่งในร่างกาย มีความเชื่อว่า การสูญเสียหน้าที่ ของ liptin ซึ่งทำหน้าที่บอกสมอง เกี่ยวกับ ไขมัน ในร่างกาย และ กดความอยากอาหาร และกระตุ้นการเผาผลาญ เป็นผลให้เรามีอ้วนขึ้นได้

liptin เป็นฮอร์โมนที่ถูกสร้างจาก เนื้อเยื่อไขมันขาว เป็นส่วนใหญ่ และยังสามารถถูกสร้างขึ้นมาจาก ไขมันน้ำตาล, รก ,รังไข่ ,กล้ามเนื้อลาย ,กระเพาะ, เซลล์เยื่อบุเต้านม ,ไขกระดูก ,ต่อมใต้สมอง,ตับ

ในคนที่มีไขมันมาก ร่างกายก็จะมีกระบวนการ สร้าง liptin ที่มากขึ้นด้วย แต่ปัญหาคือ การที่เรามีอาการดื้อ liptin ซึ่งอาการดื้อต่อ liptin นั้นก็จะค่อยๆพัฒนา เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการที่ร่างกาย ผลิต liptin ออกมามาก และ บ่อยครั้ง ทำให้เกิดการดื้อ และสูญเสียหน้าที่ของ liptin 

วิธีการแก้ไข ผลของการดื้อ lipitn คือ ลดอาหารหวาน ช็อกโกแลต จะทำให้น้ำตาลในเลือดสูง เลี่ยงไขมันอิ่มตัว เนย มาการีน ออกกำลังกายเสมอ แบ่งทานมื้อเล็กๆ

ในการที่ เราอดอาหาร ร่างกายจะหลั่งฮอโมน คอร์ติซอล ฮอร์โมนความเครียด มากขึ้น ฮอโมนอิ่มน้อยลง ฮอโมนหิวมากขึ้น ทำให้การควบคุมน้ำหนักเกิดความทรมาน จนตบะแตก และไม่สามารถ ลดน้ำหนักให้เกิดผล สำเร็จได้
 หน้าที่ของ liptin

1.liptin ต้านฤทธิ์ นูโรเปปไทด์ วาย ( Neuropeptide Y)สารคัดหลั่ง กระตุ้นความอยากอาหาร

2.liptin ต้านฤทธิ์ อะนานาดาไมด์ ( Anadamind) สารกระตุ้นการกินอีกตัว

3.liptin ส่งเสริมการสังเคราะห์ อัลฟ่า - เอ็มเอสเอส( Alpha-MSH)ตัวยับยั้งความอยากอาหาร(Appetite suppressant)

4.เป็นผลให้เกิดการยับยั้งการกิน อาหาร (inhibition of food intake)




นิวโรเปปไทด์วาย neuropeptide y เป็นนิวโรเปปไทด์ 36 กรดอะมิโน ทำหน้าที่เป็นสารสื่อ ประสาท neurotranmitter ในสมอง และ ระบบ ประสาทอัตโนมัติ ans โดยมีมากในสมองส่วน ไฮโปธารามัส hypothalamus รับผิดชอบสำหรับความรู้สึกหิว

เอ็นพีวาย npy แสดงออก และถูกปล่อออกมายับยั้ง โดย เลปติน ดังนั้น เมื่อน้ำหนักเพิ่มระดับของ เลปติน ก็จะเพิ่มตาม มีผลยับยั้งการทำงานของ npy ซึ่งตอบสนองต่อความอ้วน โดยลดการกินอาหาร และเพิ่ม การใช้พลังงาน และ การทำงานของระบบ ซิมพาเทติกเพิ่มขึ้น

เมื่อน้ำหนักลดลง การหมุนเวียนของ เลปติน ก็จะลดลงด้วย ทำให้มีผลให้ npy ที่ตอบสนองกับการอด โดยความอยากอาหารจะเพิ่มขึ้น การใช้พลังงานที่ไม่จำเป็นก็ลดลง หน้าที่สืบพันธุ์ลดลง อุณหภูมิลดลง แต่ ระบบประสาท พาราซิมพาเทติก เพิ่มขึ้น

liptin มีอาการ ดื้อ เกิดจากพฤติกรรมกินเยอะ ติดหวาน ติดมัน ติดเค็ม การกินหวาน กินเค็ม กินมัน เป็นอาหารที่กระตุ้น สมอง ส่วน รื่นรมย์ หลายคนทานเพราะมีอารมณ์ซึมเศร้า ทำให้กินมาก




เรื่องของ ความอยากอาหาร และฮอร์โมนที่ ยับยั้ง ความอยากอาหาร อย่าง ฮอร์โมน liptin นั้นเป็น เพียงส่วนหนึ่งของกระบวนการ ควบคุมน้ำหนัก แต่ โดยรวมแล้ว ถึงแม้ว่า ส่วนใหญ่ ฮอร์โมน liptin จะ ผลิต มากเมื่อมี ไขมันมากก็ตาม แต่หากว่า เราสะสมไขมัน จากการกินมากๆ กินมัน กินหวาน กินเค็ม ก็ไม่พ้น ที่จะ เกิดการดื้อ ต่อฮอร์โมน เหล่านี้ ซึ่งไม่ต่างอะไรกิน อินซูลิน ที่หาก มีการผลิตมาก ก็ดื้อได้เหมือนกัน

การที่เรามีพฤติกรรมในการกินที่มาก ทำให้กระบวนการ เกี่ยวกับ ฮอร์โมนที่ยับยั้ง ความอยากอาหารต้องทำงาน มาก บ่อย เกินความจำเป็น ทำให้ เรากินเท่าไหร่ก็ไม่อิ่ม นี่จึงเป็นคำตอบหนึ่งที่บอกได้ว่า ทำไม คนบางคน กินแล้วไม่รู้สึกอิ่ม หิวอยู่ตลอด



ผมเคย ได้พูดคุยกับ คนในเฟสบุ็คคนนึง ที่ถามว่า ทำไม เค้ากินอะไร ก็ไม่อิ่มซักที กินแล้ว ก็หิวอีก ไม่รู้สึกอิ่มเลย ซึ่ง อาจจะเป็นเพราะ การดื้อ  liptin หรือ ดื้อ อินซูลิน ซึ่งทำให้ สมองไม่รับรู้ว่า ควรอิ่มแค่ไหน ไม่รับรู้ว่า ระดับน้ำตาลในเลือดเท่าไหร่ ไม่รู้ว่าควรพอได้แล้ว วิธีที่ผม แนะนำคือ กินให้ช้าลง เคี้ยว ให้นานขึ้น เคี้ยวต่อ 1 คำ ให้มาก สัก20-50 ครั้ง ซึ่งคำตอบที่ได้กลับมาคือ ทำไม่ได้หรอก มันเยอะไป ซึ่งถ้าไม่แก้ไข โดยการปรับพฤติกรรมการกิน ให้ช้าลง ให้ทันกับการทำงานที่ช้าลง ของฮอร์โมน ที่ยับยั้งความอยากอาหารแล้ว คุณก็จะ กินจนเกิน อยู่ตลอดเวลา และไม่พ้นความอ้วนไปได้  ทุกครั้งที่เราบอกว่า ให้คนอ้วน ทานช้า ให้ เคี้ยวให้นานขึ้น ให้พิจารณาอาหารก่อน แล้วให้อมอาหารเพื่อรับรสสักครู่หนึ่ง ก่อนเคี้ยว คำตอบ และ วิธีปฏิบัติที่ได้ คือ ไม่ทำ ละเลย และ มองว่าเป็นสิ่งที่เล็กน้อย ที่หาความสำคัญไม่ได้เลย โดยหารู้ไม่ว่า นี่คือการปรับพฤติกรรม ที่ช่วยพวกคุณได้มากจริงๆ  หากละเลยในสิ่งเล็กๆเหล่านี้ แล้วจะสามารถ แก้ไขปัญหาอื่นที่ยากกว่านี้คงเป็นไปได้ยาก

ในบทนี้ ผมแค่อยากพูดถึง เรื่องของ ฮอร์โมน ตัวนี้ และ การปรับพฤติกรรมการกิน ให้ช้าลง เพราะ ฮอร์โมน มันทำงานช้าลง อยากให้คนที่อ่านได้ประโยชน์ จากการปรับพฤติกรรม การกินให้ช้าลง มากกว่าไปคาดหวังให้ ฮอร์โมน ที่ควบคุมความอิ่ม ทำงาน เพราะ ตัวเรา ต้องควบคุมตัวเองให้ได้ก่อน แล้วสิ่งอื่นก็จะตามมาเอง  สำหรับบทนี้ของฝากไว้เท่านี้นะครับ

ขอบพระคุณครับ



Erin Stren