ธัยรอยด์
ธัยรอยด์ฮอร์โมน คือ ฮอร์โมนที่ผลิต มาจากต่อม ธัยรอยด์ ซึ่ง ต่อมธัยรอยด์ จะผลิตฮอร์โมนขึ้นมาอยู่ 3 ชนิด คือ
1.(Triiodothyroxine , T3 )ไตรไอโอโดธัยรอกซิน
2.( Thyroxine , T4 )ธัยรอกซิน
3. (calcitonin) แคลซิโทนิน เป็นฮอร์โมน ที่ออกฤทธิ์ ตรงข้ามกัน พาราธัยรอยด์ คือช่วยลดระดับแคลเซียมในเลือด
T3(Triiodothyroxine) และ T4(Thyroxine) เป็นฮอร์โมน ซึ่งจะทำหน้าที่ควบคุมขบวนการ เผาผลาญและ ควบคุมการทำงานของร่างกาย
ความผิดปกติของต่อมธัยรอยด์แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 3 ประเภท คือ
1.ความผิดปกติอันเกิดจากต่อมธัยรอยด์มีการสร้างและหลั่งฮอร์โมนมากหรือน้อยผิดปกติ
2.ความผิดปกติที่ต่อมธัยรอยด์มีขนาดโตขึ้น โดยอาจโตแบบทั่วๆไป ( diffuse goiter ) , โตขึ้นเป็นลักษณะก้อนเดี่ยว ( single หรือ solitary nodule ) , หรือโตหลายๆก้อน ( multinodular goiter ) ก็ได้ ซึ่งที่พบ มี 2 ประเภท คือ เนื้องอกธรรมดา และ มะเร็งต่อมธัยรอยด์ ซึ่งมีผลทำให้ การผลิต ฮอร์โมนธัยรอยด์ ผิดปกติไปด้วย
3.กลุ่มภูมิเพี้ยนธัยรอยด์ ออโตอิมมูนไทรอยด์ autoimmune thyroiditis คือ ภูมิเพี้ยน มีผลต่อ ธัยรอยด์ และเกิดการ อักเสบของต่อมธัยรอยด์ จนเกิด ความผิดปกติของ ธัยรอยด์ฮอร์โมน
หน้าที่ของ ธัยรอยด์ฮอร์โมน
1.ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย ให้คงที่ ไม่สะบัดร้อน สะบัดหนาว
2.หลั่งน้ำย่อยอาหาร
3.ควบคุม ออกซิเจนในเลือด ว่าจะน้อย หรือ มาก
แผนผังการที่สมอง สั่งให้ผลิตธัยรอยด์ฮอร์โมน
ความผิดปกติของ ต่อมธัยรอยด์ ที่ผลิต ธัยรอยด์ฮอร์โมน ที่ผิดปกติ ไม่ว่าจะ มาก หรือ น้อยจนเกินไป ล้วนแต่ ก่อให้เกิดอาการของโรค ที่ผิดปกติทั้งสิ้น โดยอาจจะสรุป
อาการของ ธัยรอยด์ ได้ คร่าวๆดังนี้คือ
1. ไฮเปอร์ธัยรอยด์ (Hyperthyroidism) เป็นภาวะ ผิดปกติ อันเนื่องมาจาก มีฮอร์โมนธัยรอยด์ที่มากเกิน ไป เกิดภาวะการเผาผลาญที่มากเกินไป ทำให้ ร่างกาย สูญเสีย กล้ามเนื้อ ไขมัน และมีภาวะ เหงื่อออกง่าย ใจสั่น ท้องเสีย ดูแก่เร็ว
ภาวะไฮเปอร์ฮอร์โมน เป็นภาวะ ที่ หลายคนที่ลดความอ้วน มีความเข้าใจที่ผิด คิดว่าดี กินเท่าไหร่ ยังไง ก็ไม่อ้วน แต่จริงๆแล้ว มันเป็นโรคที่ทำให้อายุสั้นและ ตายง่าย แก่เร็ว กินเข้าไปเท่าไหร่ก็ไม่ พอที่ร่างกายจะเอาไปใช้
ร่างกายมีกิจกรรมมากเกินไป ในการแพทย์ไทย เราเรียกว่าโรคแห่งความร้อน ระบบการทำงาน ของอวัยวะ ทำงานเร็วจนเกินไป ร้อน เมื่อมีร้อนมาก ก็จะขึ้นไปที่สมอง และ พาความร้อนระบายออก ซึ่งคอ เป็นทางออกของความร้อน จนเกิดคอบวม เป็นโรคคอพอกขึ้นมา
2. ไฮโปธัยรอยด์ (Hypothyroidism) คือ ธัยรอยด์ทำงานน้อย ไม่เผาผลาญ ก็ทำให้อ้วนง่าย มีการเปลี่ยนแปลงร่างกายหลายระบบ ไม่ว่า ไขมัน โปรตีน คาร์บ มีผลให้อ้วนง่ายและมีการเปลี่ยนแปลงระบบประสาท ทำให้ สมาธิไม่ดี คิดช้า ถ้าเป็นมาก จะเสี่ยงต่อ โคเลสเตอร์รอล ตรัยกลีเซอร์รัยสูง ลักษณะ เฉพาะ ถ้าเป็นมากตาโปน หลับตาไม่สนิท บวมเยื่อบุลูกตา อาจมีผลกระทบให้ตับวาย ไตวาย เมื่อตับวาย ก็ส่งผลให้การควบคุม อินซูลิน มีปัญหา เกิดภาวะดื้อ อินซูลิน กลายเป็นเบาหวานตามมาอีก
ธัยรอยด์ฮอร์โมนที่มีมาก หรือ น้อย ล้วนแต่เป็นปัญหา ในปัจจุบัน ปัญหาของโรค ธัยรอยด์ เกิดขึ้นได้บ่อยกว่า ในอดีต เนื่องจากรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันของเรา ทำให้ ระบบเผาผลาญ มีปัญหา และส่งผลกระทบต่อการ ลดน้ำหน้ก
คนที่มีฮอร์โมนธัยรอยด์ สูงๆ ก็อาจจะเรียกได้ว่า เป็นคน ตัวร้อน คำว่า คนตัวร้อน คือลักษณะ ของ คนที่มีการทำงานนของระบบร่างกาย มาก กินมาก ใช้มาก เหมือนเครื่องยนต์ ที่ทำงานหนักมากๆ เครื่องก็จะร้อน คนที่มีลักษณะตัวร้อน กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน เพราะ เครื่องยนต์มันทำงานหนักอยู่ตลอดเวลา แต่ปัญหา คือ เครื่องยนต์ กับร่างกายคน มันไม่เหมือนกัน เพราะ ระบบการทำงานของคนเรา ใช้ หัวใจ เป็นตัวสูบฉีด หาก ระบบอวัยวะในร่างกายเราทำงานหนัก เราก็จะทำให้หัวใจเราทำงานหนัก และเหนื่อยง่าย ด้วยความร้อนที่มีในตัว ก็จะทำให้ เลือดมีความหนืด ข้น ทำอะไรก็เหนื่อย หอบ ผิดปกติ หายใจเร็ว ท้ังหมดนี้ ล้วนมาจาก พฤติกรรมผิดๆ ของเราทั้งสิ้น
คนที่มีฮอร์โมนธัยรอยด์ น้อยๆ คือ คนที่มีลักษณะที่เป็นทางตรงกันข้าม กับคนต้วร้อน กินเท่าไหร่ ก็ไม่เอาไปใช้ มีลักษณะ เป็นคนเฉื่อยชา ทำอะไรไปวันๆ ไม่ค่อยสนใจอะไร อ้วนง่าย หรืออาจจะเรียกว่าได้เป็นคนตัวเย็น ไฟธาตุ ในร่างกาย น้อย ทำให้ระบบเผาผลาญพลอยน้อยไปด้วย ระบบไฟธาตุ ในการเผาผลาญอาหาร ที่ใช้ย่อยก็น้อย ท้องอืดง่าย มีปัญหา ท้องอืด ตลอดเวลา
วิธีการรักษา
1.ให้ยาเพื่อ เพิ่ม หรือ ลด ฮอร์โมนธัยรอยด์ ทั้งนี้ ในการตรวจเลือด จะทำให้ทราบว่า ควรจะปรับเพิ่ม หรือลด ปริมาณฮอรโมนธัยรอยด์ อย่างไร ยาในกลุ่มนี้ จึงเป็นยาที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น
2.ในรายที่เป็นมาก จะใช้การ กลืนกัมมันตรังสี ที่มีสภาพ เป็นน้ำเข้าไป เพื่อทำลาย ต่อมธัยรอยด์ ทิ้งไปเลย ในกรณีนี้ เป็นกรณี ที่ หากมีธัยรอยด์อยู่ จะทำให้เกิดอันตราย แก่คนไข้ได้ แพทย์ จะ ใช้ในกรณี ที่มีความเสี่ยงสูงเท่านั้น
ธัยรอยด์ เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ บ่อยมากขึ้นในปัจจุบัน พบว่า การเกิด ธัยรอยด์เป็นพิษ( Thyrotoxicosis )
ตรวจพบได้มากขึ้น ในปัจจุบัน
สภาวะ ปัจจุบันที่มีความเป็นพิษสูง ไม่ว่า จากทางสภาพจิตใจ ที่ทำให้ ระบบประสาท และสมอง ที่มีส่วนในการสั่งการ ให้ผลิต ธัยรอยด์ฮอร์โมน สั่งการผิดปกติ หรือ แม้แต่พฤติกรรม ในชีวิตประจำวัน ชั่วโมงการทำงานที่มาก สภาวะแวดล้อม ล้วนแต่มีผลให้ โรคออโตอิมมูนไทรอยด์ autoimmune thyroiditis หรือ ภูมิเพี้ยน อันเป็นสาเหตุของ การทำงานผิดปกติของ ธัยรอยด์ เกิดขึ้น ได้มากขึ้น
ยาธัยรอยด์ฮอร์โมน ที่มีการนำมาใช้เพื่อการควบคุมน้ำหนัก เพราะ ประสิทธิภาพ ในการเร่งอัตราเผาผลาญ ก็เช่นกัน หากว่า เราใช้ยา ไปเรื่อยๆ ร่างกายจะเลิก ผลิต ธัยรอยด์ฮอร์โมนไปเลย แล้ว หันมาใช้ ฮอร์โมนธัยรอยด์ ที่ร่างกายรับมาจาก ภายนอกแทน ทำให้ เมื่อลด ยา หรือ เลิกทานยา จะมีผลให้กลับมาอ้วน หรือ หากใช้ระยะเวลานาน อาจจะมีผลให้ ธัยรอยด์ มีปัญหา กลายเป็นโรคธัยรอยด์ ได้เช่นกัน ดังนั้น ยาธัยรอยด์ จึงถือเป็นยาอันตราย ที่ควรที่จะได้รับการสั่งจ่ายและ ปรับขนาดยาจากแพทย์เท่านั้น
ธัยรอยด์ฮอร์โมน มีผลกับความอ้วนของเราก็จริง แต่ก็ ไม่ใช่ยาที่จะนำมาใช้เพื่อการลดน้ำหนัก เพราะ มันเป็นเรื่องอัตราการเผาผลาญ หากเราใช้อย่างไม่รู้จักคิด ถึงอันตราย จะทำให้ ระบบการทำงานของ ธัยรอยด์ ของเรา สูญเสียไปอย่างถาวร การลดน้ำหนัก โดยหวังถึง กระบวนการ ทางฮอร์โมนของร่างกาย ในการไปเร่งอัตราการเผาผลาญ โดยไม่คิดถึง การทำงานของหัวใจ ที่ต้องทำงานหนัก อาจจะเป็นอันตรายกว่าที่คิด สำหรับในบทนี้ ผมขอแตะไว้เพียงเท่านี้
ขอบพระคุณครับ
Izabela badurek