FIT การฝึกในเชิงคุณภาพ ไม่ใช่ ปริมาณ
ผมเคยได้คุยกับ เพื่อนในโซเชียล คนหนึ่ง ซึ่งเค้าได้แนะนำ การออกกำลังกาย โดยการ ซิทอัพ จำนวน เป็น 100 ครั้ง โดย เค้าก็บอกว่า ที่เค้ามี ซิกแพ็ค เพราะเค้า ซิทอัพ เป็น 100 ครั้ง ซึ่ง ผมมองว่า ที่เค้ามี ไม่ใช่ซิกแพ็ค และ ผมมองว่า การแนะนำของเค้า มันแสดงว่าเค้าฝึกในเชิง ปริมาณ โดยการเน้นการเพิ่ม ปริมาณ การฝึกให้มากขึ้น ซึ่ง ถ้าฝึกแบบนี้ มันจะไม่ได้การพัฒนาอะไรเลย แถมการฝึก กล้ามเนื้อท้อง โดยการ ซิทอัพ ก็เป็นสิ่งที่ควรจะเลิกทำได้แล้ว สำหรับเรื่องการฝึก ในเชิงปริมาณ หรือ คุณภาพ นั้น เป็นสิ่งที่หลายคน อาจจะยังไม่เข้าใจ ซึ่งผมก็อยากจะเขียนถึงเรื่องนี้ ให้อ่านกัน
หลายคน มักคิดว่า คนที่ ทำอะไรได้เยอะๆ มากๆ คือ แสดงว่าเค้าแข็งแรงขึ้นแล้ว คนที่ ยกเวต น้ำหนักเดิมๆ แล้วเพิ่ม ปริมาณการฝึก เข้าไป เพิ่มจำนวนครั้งเข้าไป มันไม่ได้ทำให้ การฝึกมันพัฒนาขึ้นเลย หลักการ ในการเวต จะมีการฝึก โดยการ เลือกน้ำหนัก ให้เข้ากับ จำนวนครั้ง ที่เหมาะสมกับ กล้ามเนื้อ ที่เราใช้ และ ปรับการฝึก โดยการไม่พยายามเพิ่มจำนวนครั้ง แต่ ให้เพิ่ม ความหนักเข้าไป แล้วปรับลดเวลาลง เพราะ เราเน้นคุณภาพ ไม่ได้เน้น ปริมาณ
FIT
1. ( F ) คือ Frequency ความถี่( คาบการฝึก)
2. ( I ) คือ Intensity ความเข้มข้น(ความหนัก)
3. ( T ) คือ Time under tension (เวลาในการฝึก)
ผมอยากให้ คนที่ฝึกการออกกำลังกาย พิจารณาถึง 3 สิ่งนี้ในการ ปรับการฝึกของท่าน เพื่อให้การฝึก ของท่าน เป็นการฝึกที่เน้นคุณภาพ มากกว่า แค่ปริมาณของการฝึกเท่านั้น ยกตัวอย่าง
หากเราเป็น นักวิ่ง ที่เพิ่งเริ่มหัดวิ่ง ยังไม่สามารถ วิ่งต่อเนื่อง และ ความเข้มข้นของการฝึก ก็ได้น้อย เพราะเราเป็นมือใหม่ สิ่งที่ควรจะปรับ เป็นสิ่งแรกคือ (Frequency ความถี่) ของการฝึกเข้าไปแทน อาจจะมีคาบการฝึก มากกว่าปกติ เช่น มีคาบการฝึก เช้า เย็น แทนที่จะ ฝึกแค่ 1 คาบการฝึก เมื่อเราฝึก ต่อเนื่องไม่ได้ ฝึก ความเข้มข้นสูงไม่ได้ เราก็ เน้น ความถี่ หรือ คาบในการฝึกเพิ่มเข้าไปแทน
แต่ถ้าหากว่า คุณ สามารถ วิ่งได้ ในระยะต่อเนื่อง ยาวนานมากขึ้น คุณก็อาจจะไปปรับ (Time under Tension ระยะเวลา ) เข้าไปแทน โดยลด ความถี่ ในการ ฝึก ให้ลดลง เช่นแทนที่คุณจะมี 2 คาบฝึกต่อวัน ก็ลดลงเหลือ แค่ 1 คาบ เท่านั้น แต่เราไปเน้น การปรับเพิ่ม ระยะเวลาแทน
แต่หากว่าคุณ เริ่มวิ่งได้ระยะเวลานานมากขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่ควรปรับ ไม่ใช่ ปรับให้ วิ่งนานขึ้น แต่ควร เพิ่ม (Intensity ความเข้มข้น) หรือความหนักหน่วงในการฝึกเข้าไปแทน เช่น หากคุณ วิ่งได้ 30 นาที แล้วรู้สึกว่า อยากพัฒนาขึ้น สิ่งที่ควรทำ ไม่ใช่การ เพิ่มเวลาเข้าไป ให้ฝึกนานขึ้น เพราะการทำอย่างนั้น การพัฒนา ที่ได้มันน้อย และการฝึกที่กินเวลานานๆ ก็ไม่ใช่สิ่งดี เพราะเราควรเน้นคุณภาพ ที่ได้จากการฝึก ในเวลาอันสั้น แทนการ เพิ่มเวลาเข้าไปเรื่อยๆ การเพิ่มความเข้มข้น เช่น คุณ อาจจะ เพิ่มความเร็วในการวิ่งเข้าไป โดย อาจจะ ปรับความเร็ว ในการวิ่ง เป็น ช่วงๆ หรือ ปรับความเร็วในการวิ่งให้มากขึ้น แล้วลด ปริมาณเวลาลงไป เช่น ถ้าเราวิ่ง หนักขึ้น เราก็ลดเวลาการวิ่งลง จาก 30 เป็น 10 หรือ 20 หรือ จะวิ่ง สลับ หนักเบา ก็ได้ แล้วเมื่อร่างกายพัฒนามากขึ้น เราก็ ค่อยเพิ่มเวลา เข้าไปอีกครั้ง ทำให้ การฝึกของคุณมีคุณภาพ มากกว่า ปริมาณ
หากเราอยาก พัฒนาการฝึกของเราให้ดีขึ้น จึงควร ปรับเพิ่ม 3 สิ่งนี้เข้าไป โดยไม่พยายาม ปรับเพิ่ม เวลาในการฝึกเพิ่มขึ้น แต่ให้เพิ่ม ความหนัก ของการฝึกเข้าไป แต่หากว่า เราพอใจในการฝึก หรือว่า แค่ออกกำลังกาย ให้ร่างกาย สุขภาพดี แล้วรู้สึกว่า แค่นี้พอแล้ว วิ่ง 30 นาที ความเร็วแค่นี้ พอแล้ว ไม่อยากปรับเพิ่ม ผมก็มองว่า มันก็ ok
จริงๆ การปรับ FIT นั้น มีรายละเอียดในการฝึก มากกว่านี้ แต่ผม เขียน คร่าวๆ ให้พอเป็นแนวทาง ซึ่งผมอาจจะมานำเสนอ ในเรื่อง การปรับ การฝึกการวิ่ง สำหรับ ผู้เริ่มวิ่งใหม่ๆ โดย เป็นเทคนิค ของนักวิ่งมาราธอน ไว้บทต่อๆไป จะได้นำการฝึก เหล่านี้มานำเสนอนะครับ สำหรับบทนี้ ผมเขียนในวันที่ 31 / 12 / 58 อยู่ในช่วงปีใหม่ ผมก็เลยว่างๆ ก็เลย มาเขียน บทความนี้ ก็ถือเป็น บทความ ท้ายปีนี้แล้วกันนะ ขอบคุณสำหรับคนที่เข้ามาอ่านนะ ขอบคุณจริงๆ
VictoRia PendlEtoN
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น