วันอังคารที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ยาลดความอ้วน 2

บทที่ 16 ยาลดความอ้วน 2 


ก่อนที่จะทำการ ลดน้ำหนักโดยการใช้ยา นั้น ควรที่จะทำการ ควบคุมอาหาร ออกกำลังกายและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสียก่อน แต่หากว่า ภายใน 3เดือน ไม่สามารถลดน้ำหนักได้10%ของน้ำหนักเดิม
หรือมีค่าดัชนีมวลกาย BMi มากกว่าหรือเท่ากับ 30 กิโลกรัมต่อ ตารางเมตร รวมทั้งผู้ที่มีดัชนีมวลกาย มากกว่าหรือเท่ากับ 27 กิโลกรัมต่อ ตารางเมตรที่มีปัจจัยเสี่ยงเช่น เบาหวานความดันโลหิตสูง หรือ ไขมันในเลือดสูงผิดปกติ โดยต้องมีการซักประวัติตรวจร่างกาย ก่อนใช้ยาเสมอ


ยาที่ใช้ลดความอ้วนในปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ

1.การออกฤทธิ์ใน ระบบทางเดินอาหาร ได้แก่



1.1สารที่พองตัวได้โดย ส่วนมีลักษณะเป็นอาหารเพื่อการควบคุมน้ำหนักที่ให้เส้นใยเช่นพวก สารสกัดจากหัวบุก ซึ่งไม่ให้พลังงาน และ สามารถพองตัว เพื่อให้เรา อิ่มอยู่ท้องได้นาน จัดเป็นอาหารที่เป็นตัวช่วยในการควบคุมน้ำหนัก เพราะไม่มีอันตรายโดยตรงเหมือนอาหารเสริมเพื่อลดน้ำหนักอื่นๆ เช่นพวก ยาระบาย ยาขับปัสสาวะแต่ผู้ใช้ก็ต้องระวังการใช้ด้วยเนื่องจาก พบว่า การใช้ อาหารจำพวกนี้ จะทำให้ลำไส้อุดตันได้ รวมทั้ง ถ้าหากว่าทานน้ำน้อย ก็อาจจะทำให้ อุจจาระแข็งได้เนื่องจาก อาหารที่ใช้ในการควบคุมน้ำหนักในลักษณะนี้ จะมีกลไก การพองตัวจากน้ำ ดังนั้น ถ้าหากเราทานน้ำน้อยก็มีโอกาสที่ จะทำให้ อุจจาระแข็งตัว ทำให้ถ่ายยาก และอาจจะแข็งจนต้องผ่าตัดเพื่อนำเอาอุจจาระที่แข็งตัวออกมา




1.2  ยาที่ช่วยยับยั่งการดูดซึมอาหาร พวกไขมัน Digestion inhibitorsเช่น orlistat เป็นยาลดความอ้วนที่มีกลไกการออกฤทธิ์ โดยทำการยับยั้งเอนไซม์ ในกระเพาะที่ทำหน้าที่ในการย่อยไขมัน ทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมไขมันเข้าสู่ร่างกายได้  และขับถ่ายออกมา orlistat จะออกฤทธิ์กับ อาหารที่มีไขมันเท่านั้น  แต่จะได้ผลดี ก็ต้องใช้ควบคู่กับการควบคุมอาหารด้วย ขนาดยาที่ใช้ ในไทยเราจะมีเป็นชนิด แคปซูล ขนาด 120 มิลลิกรัม โดยปกติจะทานครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 3 เวลาพร้อม หรือหลังอาหาร ไม่เกิน 1 ชั่วโมง ไม่ควรใช้ต่อเนื่องเกิน 6 เดือน orlistat มีผลยับยั้งไขมันได้สูงสุด 30 %ของปริมาณ ไขมันในอาหารที่เรากินเข้าไป
orlistat เป็นยาที่มีผลต่อพฤติกรรมการทานของผู้ควบคุมน้ำหนักเนื่องจาก ทำให้มีความเชื่อว่า เมื่อไขมันในอาหารที่ทานเข้าไปถูกดักจับ แล้วขับถ่ายออกมาทำให้กินแล้วไม่อ้วนจนมีคำโฆษณา ชื่อยาชนิดนี้ว่า เป็นยา ดักไขมัน ซึ่ง ในความเป็นจริงแล้ว สาเหตุที่เราอ้วนเกิดมาจาก ไขมัน ก็จริง แต่เป็นไขมัน ที่เป็นพลังงานที่เหลือจาก การนำไปใช้จากการทาน คาร์บ อาหาร พวก ข้าว แป้ง น้ำตาล ที่ เหลือจากการนำไปใช้แล้ว เปลี่ยนสภาพเป็น ไตรกลีเซอร์รัย อยู่ในเนื้อเยื่อไขมัน

ผลเสียจากการใช้ยา orlistat

ถึงแม้ยาตัวนี้จะไม่มีผลถึง แก่ชีวิต แต่ก็มีผลเสียจาก กลไกการออกฤทธิ์ ของยาเอง ที่ทำให้ ไขมันไม่ถูกย่อย ทำให้เวลาถ่ายออกมามีไขมันปะปนออกมาด้วย และ ถ่ายอุจจาระบ่อยขึ้น ควบคุมการขับถ่ายได้ลำบาก ปวดท้อง มวนท้อง ไม่สบายท้อง ผายลมบ่อย ซึ่งมีโอกาสสูงที่จะเกิด ผลดังกล่าวมาข้างต้น ความรุนแรงก็จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคลผู้ใช้ยา orlistat มีความเสี่ยงที่จะขาดวิตามินที่ ละลายได้ในไขมันจึงมีความจำเป็นต้องทานวิตามินเสริมเข้าไปด้วย

ผลทางอ้อม สามารถลดระดับ total cholesterolและ LDL-cholestrolในเลือด และทำให้ภาวะGlucose tolerance ดีขึ้นในระยะเวลาสั้นๆและไม่มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง

อาการแพ้ต่อยา orlistat
มีความเสี่ยงต่อความผิดปกติของตับ ได้ ซึ่งหากมีความรุนแรง ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นเช่น เบื่ออาหาร ตัวเหลือง ตาเหลือง มีผื่นคันปัสสาวะมีสีเข้ม อุจจาระมีสีซีด ปวดท้องรุนแรง ในกรณีที่แพ้ยาตัวนี้ ยาตัวนี้เป็นยาที่มีข้างเคียงที่น้อย แต่ควรใช้ควบคู่กับการควบคุมอาหาร และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งต้องคอยสังเกตุอาการตัวเอง ด้วย เพราะคำว่ายา ไม่มีอะไรปลอดภัย 100%


2.ยาในกลุ่มที่ออกฤทธิ์ในระบบสมองส่วนกลาง โดยยาพวกนี้จะมีวัตถุประสงค์ในการควบคุมระดับ ของ serotonin และ  catecholamine ซึ่งสารทั้งสองตัวนี้ เป็นสารเคมี ที่มีผลในการควบคุม ความอิ่ม และ หิวของคนเราพูดง่ายๆคือ ไปควบคุมไม่ให้หิว ก็จะได้ไม่กิน ไม่กินก็ไม่อ้วน คิดกันยังงี้เลยทีเดียว
แต่ ยาที่ใช้ในกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่จะมีผลในทาง จิตประสาท หรือที่เรียกว่า เป็นยาจิตเวช  ซึ่งเคยมีรายงานในสมัยก่อนว่า ยาบางตัวมีผล ให้มีการฆ่าตัวตาย แต่ในภายหลังมีข้อมูลแก้ไข ว่าไม่จริง แต่มันก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการฆ่าตัวตายในกลุ่มของผู้ใช้ยา ชนิดนี้ เนื่องจาก อนุพันธ์ของยา เป็นลักษณะเดียวกันกับยาบ้า คือ แอมเฟตามีน  ยาในกลุ่มนี้จะสามารถแบ่งย่อยออกมาได้เป็น 3กลุ่มตามการออกฤทธิ์ของยา โดยแบ่งได้ดังนี้


2.1ยาที่ออกฤทธิ์ผ่าน Serotoninergic pathway ยาสองตัวในกลุ่มนี้ ได้แก่ Fenfluraine และ Dexfenfluramine ปัจจุบันพบว่ายาเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับ การเกิดภาวะ ผิดปกติของลิ้นหัวใจ  จึงมีการถอนตำรับที่มี สารทั้ง2ตัวออกจากการวางจำหน่ายในท้องตลาด ในปี พศ 2543 โดยประกาศของกระทรวงสาธารณสุข
ตัวอย่าง เช่น Dexfenfuramine, Fenfuramine
ปัจจุบันยาดังกล่าวบริษัทผู้ผลิตได้ถอนออกจากท้องตลาดแล้วตั้งแต่เดือนกันยายน 2540 เนื่องจากมีรายงานการเกิดลิ้นหัวใจรั่วและอาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ pulmonary hypertension ถ้าใช้ยาในขนาดสูงนานเกินกว่า 3 เดือน ซึ่งกลไกเกิดจากระดับ serotonin ที่สูงขึ้น



2.2ยาที่ออกฤทธิ์ผ่าน Catecholamine pathways ยา Phentermine,Diethypropion,Amfepramone Mazindol ซึ่งอย่างที่บอกไปข้างต้นว่า Cathine เป็นสารเคมี ที่มีคุณสมบัติกระตุ้นประสาทส่นกลางซึ่งจะมีผล ทำให้ไม่หิว และอิ่มได้นาน และเร็ว ซึ่งการควบคุมระบบประสาทส่วนกลางก็จะมีผลข้างเคียง ของยาคือ ทำให้นอนไม่หลับ ปวดศรีษะ กระวนกระวายความดันโลหิต ที่จะสูงขึ้น หัวใจเต็นเร็ว ปากแห้ง เหงื่อออก คลื่นไส้ ท้องผูก ถ้าใช้นานๆจะเกิดภาวะติดยา กระทรวงสาธารณสุขจึงมีการจัดให้เป็น วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ประเภท 2 ซึ่งจะมีการจำหน่ายได้ก็ต่อเมื่อ มีคำสั่งแพทย์เท่านั้น และยังต้องควบคุมสถานที่ขายต้องมีใบอณุญาติ และทำรายงานการจำหน่ายด้วย

ตัวอย่างเช่น ยา phentermine มีโครงสร้างในกลุ่ม phennethylamine ซึ่งคล้าย แอมเฟตามีนamphetamineนำมาใช้ในการลดความอยากอาหาร phentermine หมวดวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไม่สามารถ ซื้อหาได้ตาม ร้านขายยาทั่วไป  แต่ต้องมาพบแพทย์ในสถานพยาบาลเท่านั้น เพื่อควบคุมผลของ ยา และ ปรับขนาดของยา

ยาเฟนเทอร์มีน เป็นยาที่ออกฤทธิ์ กระตุ้นประสาท ส่วนซีรีรัลคอร์เทกซ์cerebral cortex ทำให้รู้สึกอยากอาหารลดลง  และ ออกฤทธิ์ ภายนอกสมอง  โดยทำให้ร่างกาย หลั่งสารที่เพิ่มการใช้พลังงานของร่างกาย ที่เรียกว่า อิฟิเนฟริน epinephrine หรือ adrenaline จึงทำให้เกิดการเผาผลาญเซลล์ไขมันที่สะสมอยู่ในร่างกาย ทำให้เกิดการลดน้ำหนักภายในเวลาสั้นๆขนาดการจำหน่าย  ยาเฟนเทอร์มีน จะจัดจำหน่ายเป็น แคปซูล 15 และ 30 มิลลิกรัม /แคปซูล ขนาดรับประทาน ผู้ใหญ่จะทาน 15-30มิลลิกรัมต่อวัน1-2ครั้ง รับประทานในเวลาที่ท้องว่างก่อนอาหารเช้าเด็ก ที่อายุต่ำกว่า18ปี การใช้ยาแล้วแต่ดุลพินิจแพทย์การสั่งจ่ายยา ลดน้ำหนักและยาในหมวดเฟนเทอร์มีน


ผลข้างเคียงของยา เฟนเทอร์มีน
ปากแห้ง กระวนกระวาย กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ ปวดศรีษะ ตัวสั่น วิงเวียนศรีษะหากทานในประมาณสูง อาจเกิดผลข้างเคียง เช่น อ่อนเพลียท้องเสีย ท้องผูก ความดันโลหิตสูงซึมเศร้า มีไข้ เกิดความ ผิดปกติของการเต้นของหัวใจ เกิดจิต หรือ ประสาทหลอนเกิดอาการชัก สมรรถภาพทางเพศเสื่อม



Fluoxetine

เพิ่มระบบ ซีโรโทนิน  Fluoxetine เป็นยาต้านอาการซึมเศร้า กลุ่ม SSRI(seletive serotonin re-uptake inhibitor) ออกฤทธิ์ยับยั้งการนำserotonin ที่หลั่งออกมากลับเข้าไปในเซลล์ประสาทอีกครั้งทำให้ปริมาณSerotonin ในช่องว่างระหว่างเซลล์ประสาทมากขึ้น นานขึ้น ทำให้ ระดับ
serotonin สูงขึ้น

serotonin เป็นสารชีวเคมี ที่มีความสัมพันธ์กับอารมณ์ของบุคคลให้รู้สึกสงบเยือกเย็น ลดภาวะวิตกกังวล มีผลข้างเคียงอาจจะง่วงซึมได้ในบางคน

อาหารที่มีผลให้สมองหลั่งสาร serotonin ได้ คืออาหารที่อุดมไปด้วย คาร์บเช่น ข้าว แป้ง น้ำตาล การเกิดสารชีวเคมี serotonin เกิดขึ้นมาได้จากเมื่อร่างกายได้รับสารอาหารประเภท คาร์บเข้าไป จะนำไปสร้างกรด อะมิโนชนิดหนึ่ง เรียกว่าTryptophan ซึ่งร่างกาจจะนำไปสร้าง Serotonin นอกจากคาร์บแล้ว พวกผลไม้จำพวกกล้วยหอม ก็พบว่าอุดมไปด้วย Tryptopphan

Fluoxtine มี ผลข้างเคียงคือ ทำให้ไม่อยากอาหารแม้ทางวิชาการแล้ว ยาตัวสามารถนำมาใช้ในการลดความอ้วนได้ โดย กิน 20-60 มิลลิกรัม ต่อวัน แต่ก็ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

อาการข้างเคียงของยาที่พบ ได้แก่ คลื่นไส้ 12-29% ง่วงซึม5-17% นอนไม่หลับ10-33% ลดแรงกำหนัดทางเพศ 1-11% เบื่ออาหาร 4-11% ท้องเสีย 8-18%อ่อนเพลีย7-21% สั่น 3-13% นกเขาไม่ขัน  1-7% เหงื่อมาก2-8% หูอื้อ อาการเหมือนเป็นไข้หวัด ความผิดปกติในการมองเห็นผื่นคัน ท้องเสีย น้ำหนักลด2% ฝันผิดปกติ ฝันแปลกๆ ปวดเค้นหน้าอก และอื่นๆ เช่น มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย มีพบได้น้อย แต่รุนแรง เช่น อาการแพ้ ผมร่วง ปวดเค้นหน้าอก หัวใจเต้นผิดปกติ หอบต้อกระจก หัวใจล้มเหลว ดีซ่านจากการยับยั้งการไหลของน้ำดี ไตวาย ตับพัง Stevens johnson syndrome 

us fda ระบุข้อบ่งใช้ขนาดยา ชนิดนี้ไว้ว่า ควรใช้ไม่เกิน20-60 มิลลิกรัม ต่อ วัน

การใช้ยา Fluoxetine มีผลต่อความคิดอยากฆ่าตัวตายได้ แม้ว่าจะมีรายงานการทดสอบ ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นงานวิจัยใหม่หักล้างว่า ไม่มีผลต่อการคิดฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นข้อหักล้างความเชื่อเดิมที่มีมาว่า Fluoxetine มีผลต่อการคิดฆ่าตัวตาย แต่ไม่ว่างานวิจัยจะออก มาอย่างไรก็ตาม ในการใช้ยา ควบคุมน้ำหนักที่มีผลต่อจิตประสาท ก็ยังคงต้องอยู่ในความควบคุมอย่างใกล้ชิดของแพทย์อยู่ดี ถึงแม้ว่ายาตัวนี้จะมีการใช้มากว่า 20 ปีแล้ว ก็ตาม

2.3ยาที่ออกฤทธิ์ผ่าน Noradrenergic และ Serotoninnergic,pathways ยา Sibutramine ไซบูทามีน ทำหน้าที่เพิ่มความรู้สึกอิ่มโดยการยับยั้งการเก็บกลับ ของ Serotonin ซีโรโทนิน และ Noradranaline


ตัวอย่างเช่น ยา sibutramine
เป็นยาลดความอ้วนที่เห็นผลในระยะเวลาไม่นาน เป็นยาที่มีข้อบ่งใช้สำหรับรักษา และ ควบคุมอาหาร obesity เป็น ยาควบคุมพิเศษห้ามสั่งจ่ายโดยไม่มีแพทย์  กลไกการทำงาน ยับยั้งการเก็บกลับReuptake ของสารสื่อประสาทserotonin และ นอร์อีพิเนฟริน norepinephrine ที่บริเวณสมองส่วน ไฮโปธาลามัส Hypothalamic area ลดความอยากอาหาร และ ทำให้อิ่มเร็วรวมทั้งกระตุ้นการเผาผลาญได้ด้วยขนาดยาที่เริ่มต้น  10 มิลลิกรัม ต่อวัน  หลังจาก 4 สัปดาห์ ก็จะมีการพิจารณาขนาดยาเพิ่มได้ แต่ต้องตรวจความดันโลหิต และ อัตราการเต้นของหัวใจก่อนปรับขนาดยา สูงสุดไม่ควรเกิน 15 มิลลิกรัมต่อวัน หากไม่สามารถทนต่อยาได้ ให้ลดเหลือ 5 มิลลิกรัมต่อวัน

การใช้ยา sibutramine ต้องมีบุคลากรทางการแพทย์คอยติดตามระดับความดันโลหิต และ อัตราการเต้นของหัวใจผู้ป่วยเสมอ และหยุดใช้ ยาเมื่อมีอาการผิดปกติ เกี่ยวกับความดันโลหิตและ อัตราการเต้นของหัวใจ นอกจากนี้หากลดน้ำหนักได้น้อยกว่า 5% จากน้ำหนักตัวเดิม ใน 3-6 เดือนห้หยุดใช้ยา เนื่องจากใช้ยาไม่ได้ผล

ผลข้างเคียงของยา ทำให้ปากแห้ง คอแห้ง ท้องผูก ปวดศรีษะ นอนไม่หลับ เบื่ออาหารยาตัวนี้มีปัญหาต่อระบบ หัวใจ หลอดเลือด  จนองกค์กรอาหารและยาสหรัฐออกมาเตือนยาตัวนี้ต่างจากตัวอื่นอย่างไร ในด้าน อาการไม่พึงประสงค์ไม่ค่อยต่างแต่ยาลดความอ้วน กลุ่มเดิมๆมักมีปัญหาโยโย่ มากกว่า รวมทั้งอาการใจสั่นนอนไม่หลับ แต่ปัญหานี้จะมีน้อยในยาตัวนี้แต่ ไปพบ ปัญหาเรื่องหัวใจ และ หลอดเลือดมากกว่าไซบูทรามีน ทำให้ความดันโลหิตสูง และหัวใจเต้นเร็ว

4.Hormonal manipulation เป็นยาใหม่ที่ใช้รักษาเพื่อลดน้ำหนัก ได้แก่ Leptinanalogue,Neruropeptide Y anatagonist,Cholecystokinin,Glucagon,Glucagon-like peptide-1
ยกตัวอย่างเช่น ยา Neuropeptide Y antagonist ทำหน้าที่ยับยั้ง  Neuropeptide Y (NPY)ที่ทำหน้าที่กระตุ้นให้ทานอาหารมากขึ้น ทำให้ความอยากอาหารลดลง

สำนักงาน อย ควบคุมการใช้ยาลดความอ้วน ที่จัดเป็นยาออกฤทธิ์ต่อจิต ประสาทโดยโควต้า คลินิกละ 2000 เม็ดต่อเดือน ต้องส่งรายงานการใช้ยา กับ อย ทุกเดือน



สรุป
หากได้อ่านบทความนี้ คงจะรู้ว่า ทำไม ยาพวกนี้จึงเป็นยาควบคุม ที่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดเท่านั้น เพราะความอันตราย และ รายละเอียดการใช้ ทั้ง อาการข้างเคียง การแพ้ยาที่อาจเกิดได้ ทำให้ ผู้ใช้ยาชุด ที่มีกลุ่มนี้อยู่ จึงเป็นอันตราย ถึงแก่ชีวิตได้ แต่ทั้งนี้ ยาเหล่านี้ก็ยังจัดเป็นยาที่ผลใช้ในการรักษา โรคอ้วนได้ ผลดี แม้จะมีอันตรายก็มีคุณประโยชน์ด้วยเช่นกัน ขอให้มีความรู้ และอยู่ในความดูแลของแพทย์เชื่อว่าจะมีประโยชน์มากกว่าโทษแน่นอนครับ






วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ยาลดน้ำหนัก 1 เรื่องของยาชุดลดน้ำหนัก ยาระบาย ได้ผลในการควบคุมน้ำหนักได้จริงหรือ?

บท15 ยาลดความอ้วน ยาระบาย และ ยาชุด 


ในภาพเป็น นักศึกษา เภสัช ที่สอบเข้าได้ กำลังจะเข้าเรียนต้องมาเสียชีวิตเสียก่อน
เนื่องจากกลัวใส่ชุดนักศึกษาไม่สวยเลย เลยหันมากินยาลดความอ้วน

สำหรับยาลดความอ้วน เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่หลายคนนำมาใช้ในการลดความอ้วน
จริงๆแล้วในเรื่องยาลดความอ้วนนั้น เป็นเรื่องปกติ ที่มีใช้กัน หากแต่ว่าอันตราย
จากการใช้ยาลดความอ้วนนั้นไม่ได้มาจาก ยา ที่ใช้เสียทีเดียวจะว่าจริงๆแล้ว ที่อันตราย
เสียยิ่งกว่า ก็คือ การใช้อย่างไม่ถูกวิธี ตังหากที่เป็นอันตราย ยาที่ใช้ลดความอ้วน ที่
เราใช้ๆกัน จะมี โดยคร่าวๆ ที่จะจัดกันอย่างง่ายๆ ก็คือ ยาในส่วนที่มีผลในการ ลด
ความอยากอาหาร ยาในกลุ่มนี้ ที่เป็นที่รู้จักกัน เช่น Sibutramine,Phente
mine,Fenflurramine,Fluoxetine ซึ่งบางตัวอาจจะใช้รวมกัน
กับอีกตัว เช่น Fenfluramine ซึ่งถือเป็นยาที่ อันตรายมีผลในการเกิดโรค
ลิ้นหัวใจ อีกทั้งยังทำให้เกิด ความดันโลหิตสูงในปอด แต่ก็มีการนำมาใช้รวมกันกับ
Phentermine แต่ก็ยังมีผลในการ เกิดโรคดังกล่าวสูงอยู่ดี นอกจากนี้ ในการ
แพทย์ยังมีการใช้ยา โดยอาศัยผลข้างเคียงของยาบางตัว ในการควบคุมน้ำหนัก เช่น
Fluoxetine จัดเป็นยาที่ใช้ในการรักษาอาการทางจิตเวช ใช้ในการรักษา
ผู้มีภาวะ แพนิค,ซึมเศร้า,ย้ำคิดย้ำทำ ซึ่งตัวยา Fluoxetine นั้นเป็นยาที่ใน
วงการแพทย์มีการใช้กันมา กว่า 20 ปีแล้ว และเป็นยาที่มีอันตรายน้อยหากใช้ในปริ
มาณที่ เหมาะสม เพียงแต่ ผลของยา Fluoxetine ยังมีผลในการ ทำให้เบื่อ
อาหาร ซึ่งทำให้มีการนำมาใช้ เพื่อการควบคุมน้ำหนักในผู้มีน้ำหนักเกินอีกด้วย แต่
ทั้งนี้ข้อบ่งใช้ก็ยังต้องอยู่ในความควบคุมของแพทย์อยู่ดี

เราควรใช้ยาลดความอ้วน เพื่อควบคุมน้ำหนักเมื่อไหร่ คำถามนี้มีคำตอบ ดังนี้
คือ เราจะใช้ยาลดความอ้วนก็ต่อเมื่อความอ้วน ที่เรา มีอยู่เกิดเป็นโรคขึ้น 

คำว่าความอ้วน กับคำว่า โรคอ้วน มีความแตกต่างกันอย่างไร คำว่าความอ้วน เป็นภาวะ
โภชนาการเกิน หรือเรียกว่ากินเกิน แต่เดิม เมื่อ 20 ปีก่อน ไม่มีการบัญญัติคำว่า
โรคอ้วน ขึ้น เพราะไม่มีคำอธิบายใดๆที่บอกได้ว่า คนอ้วนเป็นโรค แต่ต่อมี มีการค้น
พบโรค ที่มีผลมาจากระบบเผาผลาญผิดปกติ มากมาย ซึ่งเราจะเรียกโรคในกลุ่มนี้ว่า
เมตาโบริค ซินโดรม คำว่า เมตาโบริค ซินโดรม คือกลุ่มอาการของโรค เบาหวาน โรค
 หัวใจ โรค หลอดเลือด รวมถึงกลุ่มโรค Ncds อีกด้วย คือทุกโรคที่มีผลมาจากระบบ
เผาผลาญที่ผิดปกติ แล้ว ภาวะที่เกิดระบบเผาผลาญที่ผิดปกตินี้ เกิดทำเราป่วยขึ้น ทางการแพทย์จึงมีการบัญญัติ คำว่าโรคอ้วนขึ้น 



โรคอ้วนคือ ความอ้วน ที่เป็นสาเหตุให้ สุขภาพ และการใช้ชีวิตของเรา มีปัญหา เรา
จึงเรียกว่าโรคอ้วน

หลักการที่เราจะใช้ในการควบคุมน้ำหนัก โดยทั่วไปเพื่อความปลอดภัย ก็เป็นที่รู้กัน
ว่าเราจะต้อง ควบคุมอาหาร และ ออกกำลังกาย เพิ่มกิจกรรมในชีวิตประจำวัน แต่เมื่อ
ไหร่ล่ะ ที่เราจะเริ่มใช้ ยาลดความอ้วน

การใช้ยาลดความอ้วน เราจะใช้กันก็ต่อเมื่อ

1.ความอ้วนนั้น นำพาไปสู่โรค ที่มีผลต่อสุขภาพ และความเสี่ยงต่อชีวิต ที่มากกว่า
การใช้ยาลดความอ้วน ยกตัวอย่าง ผู้มีน้ำหนักมากๆที่มีผลต่อ เข่า การมีน้ำหนักมาก
แล้วทำให้เกิดอันตราย ต่อเข่า อาจมีผลระยะยาว กว่าการที่จะเลือกการควบคุมน้ำหนัก
ด้วยการใช้ยา เราก็จะใช้ยา ลดความอ้วน ควบคู่กับการควบคุมอาหาร โดยอยู่ในความ
ดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

2.ได้ทำการ ควบคุมน้ำหนัก โดยการออกกำลังกาย และควบคุมอาหารมาแล้วกว่า 3
เดือน แต่ผลของการควบคุมน้ำหนัก ได้ไม่เกิน 10 %ของน้ำหนักตัวที่ควรจะลดได้
แต่ถึงแม้นี้จะเป็นทางเลือกหนึ่ง หากว่า การควบคุมน้ำหนัก และ โดยการอาหารจะไม่
ได้ผล แต่ก็ควรให้เป็นทางเลือกสุดท้าย และอยู่ในการควบคุมของแพทย์เนื่องจากยา
ลดความอ้วนที่ได้ผล ส่วนใหญ่จัดเป็นยาอันตราย จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท
ประเภท 2 ไม่สามารถ จำหน่ายทั่วไป โดยไม่ผ่านการควบคุมได้

ยาระบาย เป็นยาลดความอ้วนหรือเปล่า ?

หลายคนที่่ทานยาชงสมุนไพร ที่บอกว่า เป็นยาระบาย ก็ขอให้เลิกกินได้แล้วครับ เพราะ
ยาระบาย เราจะไม่จัดเป็น ยาที่มีผลในการควบคุม หรือลดความอ้วน ด้วยเหตุผลที่ว่า
สิ่งที่จะมีผลต่อการควบคุมน้ำหนัก หรือความอ้วนนั้น เราจะมุ่งไปที่การ ควบคุมไขมัน
การเบิร์นไขมัน การใช้พลังงานสะสมอยู่ ซึ่งยาระบาย จะไม่ได้ให้ผลในการควบคุม
สิ่งเหล่านี้ อีกทั้งยังทำให้เสี่ยงต่อสุขภาพ เนื่องจากการขาด น้ำ และ แร่ธาตุ


ยาระบาย สามารถจัดออกเป็นประเภทได้ดังนี้

1.ยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ใหญ่

2.ยาเพิ่มความเหลวของ อุจจาระ

3.ยาเพิ่มกากใยไฟเบอร์

4.ยาสวนทวาร

5.ยาเหน็บทวาร

ยาระบายที่มีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ใหญ่เป็นยาที่มีความนิยมใช้กันมาก เช่น
Bisacodyl เป็นยาที่มีเม็ดเคลือบน้ำตาล สีเหลือง เล็กๆ เป็นส่วนประกอบของมะขาม
แขก มีทั้งชนิดชง และชนิดเม็ด  แต่ว่าไม่มีผลในการควบคุมน้ำหนักได้จริง เนื่องจาก
ยาจะไปมีผลในทางระบาย เมื่ออยู่ใน ลำไส้ใหญ่ ซึ่ง อาหารที่เรากินเข้าไปจะถูกดูดซึม
ไปหมดแล้วในลำไส้เล็กตอนต้น ที่เหลือที่ลำไส้ใหญ่ก็เป็นเพียง กากใยอาหารที่รอ
การขับถ่ายอยู่แล้ว ยาก็เพียงแต่ไปเร่งปฏิกิริยา ให้ถ่ายได้สะดวกขึ้น ยาระบาย ชนิดนี้
จะมีผล การทำงานอยู่ที่ 8 ชั่วโมงหลังการทานเข้าไปซึ่ง มักจะทานกันในเวลาก่อนนอน
เพื่อให้เห็นผลในตอนเช้า  แต่จากที่อธิบายมาแล้ว จะเห็นได้ว่า ยาพวกนี้ไม่ได้มีผล
ต่อการลดน้ำหนักจริงๆเลย เพียงแต่ อาจจะมีน้ำหนักลงได้บ้าง จากการ สูญเสียน้ำ และ
แร่ธาตุ ซึ่งหากใช้ไปนานๆ อาจจะทำให้เกิดการดื้อยา มีการถ่ายยาก ต้องเพิ่มปริมาณ
ยาไปเรื่อยๆ

ยาลดความอ้วนที่เราจัดเป็นยาที่มีผลในการ ควบคุมน้ำหนักได้จริงๆนั้น ล้วนเป็นยาที่
ต้องอยู่ในความควบคุมของแพทย์ ไม่อาจจะนำมาใช้เองได้ แล้วทำไม จึงยังมีผู้เสีย
ชีวิตจากการใช้ยา ควบคุมน้ำหนักเหล่านี้ในท้องตลาดอยู่ สิ่งที่เกิดขึ้นจริง ในทางปฏิบัติ
แล้ว คือ มีผู้ใช้ยาควบคุมเหล่านี้ อย่างผิดวิธี ทั้งจาก สถานพยาบาลเอง และ จาก พ่อค้า
ที่เห็นแก่ตัว โดยการจำหน่าย ยาชุด เพื่อการควบคุมน้ำหนัก

ยาชุด เพื่อการควบคุมน้ำหนัก คืออะไร ยาชุด พวกนี้ คือยาที่มีการจัดขึ้นเพื่อผลในการ
ควบคุมน้ำหนัก โดยใน 1 ชุด จะประกอบไปด้วยตัวยาต่างๆ ทั้งตัวยาที่มีผลในทาง การ
ลดความอยากอาหาร และตัวยา ระบาย ยาขับปัสสาวะ รวมทั้งยาที่ลดผลข้างเคียงของยา
ควบคุมความอยากอาหารอีกทีหนึ่ง อาจจะมีวิตามินบ้าง เนื่องจากการใช้ยาพวกนี้จะมี
ความเสี่ยงสูงที่จะขาดวิตามินด้วย


ยาชุดส่วนใหญ่จะประกอบด้วยตัวยาหลักๆ ดังนี้

1.ยาควบคุมความอยากอาหาร ซึ่งจะมีตัวยา หลักๆคือ แอมฟีพราโมน เฟนเทอร์มีน
เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ควบคุม ความอยากอาหาร และ ความอิ่มของคนเรา
ซึ่งจะมีผล เหมือนยาบ้า เพราะมี อนุพันธุ์ แอมเฟตามีน เหมือนกับยาบ้า
2.Fluoxetine  ฟลูออกซิติน ปกติ เป็นยาที่ใช้ในผู้มีอาการทางจิตประสาท
แต่นำมาใช้เนื่องจากผลข้างเคียงของยาตัวนี้มีผลให้เบื่ออาหาร แต่ผลในการเบื่ออาหาร
ไม่ได้เกิดขึ้นในทุกคน และ เป็นผลชั่วคร่าว หากใช้ไปนานๆ ผลของการเบื่ออาหาร
จะค่อยๆหายไป ขนาดปกติ ของยาที่ได้รับกันคือ 60 มิลลิกรัม ต่อวัน อาการข้างเคียง
ของยาที่อาจพบได้คือ  อ่อนเพลีย ท้องเดิน  เหงื่อออก นอนไม่หลับ กระหายน้ำ อาเจียน
ทำให้เกิดอาการที่ ทุกทรมาณ มากๆ บางคนคน อ้วกจนเหมือนจะตาย จากที่ผมเคยเห็น
กับตามาแล้ว คือ จะกินข้าว แต่ ก็อ้วก จนเป็นลมไปเลย 

3.ยากลุ่ม ฮอร์โมนธัยรอยด์ Thyroid Hormone
เนื่องจากหน้าที่หลักของ ธัยรอยด์ฮอร์โมนคือ การควบคุมการเจริญเติบโต
การควบคุมระบบเมตาโบริค ของร่างกาย เร่งการหายใจ  จึงมีความเชื่อว่าจะทำให
การเผาผลาญไขมัน และพลังงานสะสมดีขึ้น แต่ ยากลุ่มนี้มีผลต่อหัวใจหลอดเลือด
ทำให้ใจสั่น ความดันโลหิตสูง หัวใจล้มเหลว หัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตายได้
เป็นยาที่มีความ อันตราย อย่างมาก ในคนปกติ หากว่ากิน จะมีอาการเหมือนเป็น
คอพอกเป็นพิษ ใจสั่น วูบวาบ

4.ยาขับปัสสาวะ มักเป็นLasix หรือ HCTZ ซึ่งเร่งในการขับน้ำ และแร่ธาตุออกจากร่างกาย
ซึ่ง มีผลเสียต่อร่างกายโดยตรง ทำให้ร่างกายสูญเสียสมดุลย์ ของน้ำ มีความเสี่ยงที่
จะมีกรดยูริก สูง เป็นที่มาของโรค เกาต์ และโรคหลอดเลือด รวมทั้ง กล้ามเนื้ออ่อนแรง
ตะคริว และ หัวใจที่เต้นผิดปกติ ทั้งยังไม่ได้ผลในการควบคุมน้ำหนักแต่อย่างใด เพียงแต่แค่ รีดน้ำออก
จากร่างกาย เมื่อเราทานน้ำกลับไปทุกอย่างก็จะกลับคืนมา

5.ยาถ่าย หรือยาระบาย ที่จะไปเร่งระบบของการบีบตัวของ ลำไส้ใหญ่ ซึ่งได้พูดไปแล้ว
ในเรื่องของยาระบายข้างต้น

6.วิตามิน เพื่อชดเชยการสูญเสียวิตามิน จากการใช้ยาลดความอ้วน

7.ยากลุ่ม บีต้า บล๊อกเกอร์ B-Blockers ยา จะลดอาการใจสั่น ที่มีผลข้างเคียง
จากอนุพันธุ์แอมเฟตามีน และ ธัยรอยด์ฮอร์โมน ยากลุ่มนี้ ปกติใช้รักษา ความ
ดันโลหิตสูง ยาออกฤทธิ์ยับยั้ง ประสาท กระตุ้นการทำงานของ หัวใจ Sympsth
omimetic effect ที่หัวใจจะลดจำนวนเลือดที่จะบีบออกจากหัวใจใน
แต่ละคร้ง Cardiac output ลดอัตราการเต้นของหัวใจเป็นต้น

8.ยานอนหลับ เนื่องจากผลข้างเคียงของ ยากลุ่มอนุพันธ์ แอมเฟตามีน  ซึ่งกระตุ้น
ระบบประสาท ทำให้นอนไม่หลับ

9.ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด ถ้าไม่ให้ในขนาดที่สูงจนเกินไป ร่างกายก็จะยังพอทนได้
ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 50 mg/dl ก็จะเกิด อาการชักได้ ให้ระวังเอาไว้ด้วยสำหรับ
ขนาดยาที่ได้รับ

10.ยาหลอก จะเป็นแป้ง เพื่อใส่ไปให้ดูเยอะ ไม่มีความหมายอะไร แต่บางทีก็อาจจะ เป็น
วิตามิน เล็กๆน้อยๆเพื่อที่จะได้ คิดเงินค่ายา แพงๆได้ ยาจะเป็น แคปซูล สีเทาแดง บางที
เป็นยาที่ทำปลอม หรือ ยาที่ถูก พิกถอนไปแล้ว กินเข้าไป ก็ตายได้

สำหรับบทนี้ ผมก็ขอฝากไว้คร่าวๆ ในบทหน้าจะพูดถึง ยาที่อยู่ใน การควบคุม ยาที่มี
ผลต่อจิตประสาท มีอะไรบ้าง กินแล้ว เป็นอย่างไร ในบทนี้ก็คงฝากไว้แต่เพียง ยาชุด
เท่านั้นครับ 

ขอบพระคุณครับ

วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Intermittent Fasting และ การอดอาหาร บำบัด

Intermittent Fasting และ การอดอาหาร บำบัด

วิธีการไดเอต แบบ อดอาหาร

การอดอาหาร เป็นสิ่งที่ มีการถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการทางโภชนาการ กันมาตลอด ซึ่ง
ก็ต่างพยายามจะยก ข้อมูล ทั้งดีและเสีย มาพูดกัน แต่วิชาการในการทดลอง วิจัยในปัจจุบัน
ผนวกกับ แพทย์ทางเลือก ที่เป็นสาย ธรรมชาติบำบัด ได้มีข้อมูล จากการวิจัยใหม่ๆมากมาย
ที่พบว่า การ ไดเอต แบบอดอาหารนั้น เป็นผลดีต่อ ร่างกาย ขัดกับความเชื่อเดิมๆว่าเราควร
จะได้รับอาหารที่ครบ 3 มื้อ


ความเชื่อในแพทย์ทางเลือก หรือที่เราเรียกว่า ธรรมชาติบำบัดนั้น มีความเชื่อในการบำบัด
ด้วยการ อดอาหาร มานานแล้ว ยกตัวอย่าง เช่นการล้างพิษด้วยการอดอาหาร ของ หมอเขียว
ที่จะมีการบำบัด ด้วยการอดอาหาร แม้แต่ใน พุทธประวัติ เอง พระพุทธเจ้าก็ยังให้ความสำคัญ
โดยการบัญญัติไว้ใน กกจูปมสูตร โดยมีเนื้อความดังนี้

"เราฉันอาหาร ณ ที่แห่งเดียว เมื่อเราฉันอาหารหนเดียวอยู่รู้สึกว่า 1. มีความเจ็บป่วยน้อย
 2. มีความลำบากน้อย 3. มีความเบากาย 4. มีกำลัง 5. อยู่อย่างผาสุข
ดูก่อนถึงพวกเธอทั้งหลายก็จงฉันหนเดียวเถิด แม้พวกเธอก็จะรู้สึกว่า
1. มีความเจ็บป่วยน้อย 2. มีความลำบากกายน้อย 3. มีความเบากาย 4. มีกำลัง 5. อยู่อย่างผาสุข"

ซึ่งนี่ก็เป็น คำสอนหนึ่ง ที่มีการปฏิบัติ ในหมู่สงฆ์ มาจนปัจจุบัน ทั้งยัง มีการใช้ใน แพทย์ ทางเลือก
อย่างแพร่หลาย ไม่ว่าใน แพทย์แผนไทย หรือ ในอินเดีย โยคี ก็มีการอดอาหาร ด้วยเช่นกัน



เหตุผลทางวิทยาศาสตร์
ด้วยว่าการอดอาหาร หรือควบคุมปริมาณอาหารที่ได้รับ ให้มีน้อยลง ทานน้อยมื้อลงนั้น ล้วนเป็น
ผลให้ ร่างกายมี พลังงานเหลือ เพื่อใช้ในการซ่อมแซมตัวเองได้  ขออธิบาย อย่างเข้าใจไม่ยาก ดังนี้

1.การอดอาหาร ทำให้ร่างกาย เลือกที่จะซ่อมแซมเซลล์ของร่างกาย แทนการสร้างขึ้นมาใหม่
ขออธิบายตรงนี้ว่า ร่างกายของคนเรา จะมีวงรอบในการ สร้างเซลล์ของร่างกายใหม่ 40-60 วงรอบ
ใน 1 ชีวิตของเรา เซลล์ ล้วนแต่ เกิดขึ้น สร้างใหม่ และ สูญสลายไปเป็น ธรรมดา แต่การร่างกาย
สร้างเซลล์ขึ้นมาใหม่ แทนเซลล์ทีชำรุดไป ก็เท่ากับ วงรอบในการ สร้างใหม่ เร็วขึ้น มีผลให้อายุขัย
ของเรา ลดน้อยลงไปด้วยเช่นกัน หากว่า วงรอบนี้ ช้าลง แทนที่ร่างกายจะเลือกที่จะ สร้างใหม่ โดย
ทำการ ซ่อมแซมแทน มันก็จะอยู่ได้นานขึ้น เราก็อายุขัย ยืนยาวขึ้น ถ้ายกตัวอย่างง่ายๆ หากที่บ้าน
คุณ มีพัดลมตัวนึง เสีย ถ้าคุณทิ้งไป ซื้อใหม่ เงินคุณมีจำกัด ซื้อได้ ไม่กี่ตัว เงินก็หมด แต่ถ้าคุณ เอาไป
ซ่อม คุณก็ยังมีเงินเหลือ ไปซื้อใหม่วันหน้าได้

2.การอดอาหาร ทำให้เกิดกระบวนการ ที่เรียกว่า การกิน ตัวเอง autophagy  ซึ่งเป็นปติ
ธรรมชาติของ สิ่งมีชีวิตอยู่แล้ว ที่จะมีการกินตัวเอง แต่ กระบวนการนี้ คือการที่ร่างกายกินเซลล์ที่เสียหายเซลล์ที่เป็นมะเร็ง หรือแม้แต่โปรตีน ที่อันตราย  ไปเป็นพลังงานแทน ที่อาจจะเรียกได้ว่า ร่างกายกำลังทำความสะอาด ตัวเอง ด้วยการ กินสิ่งที่มีโทษกับร่างกาย ดังนั้น ในกระบวนการ ดีท๊อกร่างกาย ของฝรั่ง ก็จะมีกระบวนการอดอาหารอยู่ด้วยเสมอ

3.การอดอาหาร ทำให้มีการ หลั่งสาร Growth Hormone เป็น 6 เท่าจากปกติ ซึ่งฮอร์โมน
Growth Hormone จะถูกหลั่งมาจาก สมอง ไฮโพทารามัส ต่อมใต้สมองสั่ง ให้หลั่ง ออกมา
Growth Hormone เป็นฮอร์โมน แห่งการเป็นหนุ่มสาว หากมีมาก ก็จะทำให้ความเป็นหนุ่ม
สาวมีมากตามไปด้วย แต่นอกจากนั้นแล้ว Growth Hormone ยังมีผลกับ ระบบ แมตาบอลิซึ่ม
ของร่างกาย อันอาจสรุป เป็นข้อๆได้ดังนี้

 3.1 มีผลต่อ ไขมันแมตาบอลิซึ่ม
ทำให้ กระตุ้นการใช้เซลล์ไขมัน โดยการ ทำหน้าที่กระตุ้นให้ ไตรกลีเซอร์ไรด์ Triglyceride
ทำให้กรด ไขมัน อิสระ หรือ Free Fatty acid มีมากขึ้นทำให้เซลล์อื่นๆสามารถนำไปใช้เป็นพลังงาน
ได้มากขึ้น ทำให้มีการสลายไขมันโดยตับ อ่อน เป็นพลังงานในรูป คีโตน ได้มากขึ้น ซึ่ง Growth Hormone จะหลั่งมาในเวลาหลับสนิทเท่านั้น ซึ่งร่างกายจะเปลี่ยนรูปแบบ พลังงานจาก กลูโคส ไปใช้ คีโตน จากการผลิตของ ตับอ่อนแทนได้มากขึ้น กว่าการใช้ ไกลโคเจน ในตับอ่อน ที่สะสมไว้ใช้ในช่วง นอนหลับ หรือที่เราจะเรียกว่า การอดอาหารขณะนอนหลับนั่นเอง

3.2ผลต่อ คาร์โบไฮเดรตแมตาบอลิซึ่ม
ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือด ถูกควบคุมโดย Growth Hormone โดยการควบคุมทางอ้อม
ผ่านสารที่มีชื่อว่า IGF-1 ซึ่งเป็นสาร ที่มีโครงสร้างคล้ายคลึงกับ อินซูลิน
IGF-1 เป็นสารช่วยควบคุมระดับน้ำตาล ในกระแสเลือดที่มีประสิทธิภาพ สูง คล้ายอินซูลิน โดยปกติ ตับอ่อน ในร่างกายจะมี เซลล์ตับอ่อน สองประเภท คือ

อัลฟ่าเซลล์ เร่งการเผาผลาญ ไกลโคเจน ที่สะสมภายในตับ ให้กลายเป็น กลูโคส เมื่อร่างกายต้องการพลังงาน

เบต้าเซลล์ เร่งให้ตับแปรสภาพ น้ำตาล ส่วนเกิน ในกระแสเลือด ให้กลับมาเป็น พลังงานสำรองในตับในรูปของ ไกลโคเจน ด้วยสาร อินซูลิน



ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน จะพบว่า ระบบการทำงานของ เบต้าเซลล์  ทำงานบกพร่อง ผลิต อินซูลินได้น้อยลง ทำให้มีน้ำตาลตกค้าง ในกระแสเลือดมากกว่าปกติ จนปะปนออกมากับ ปัสสาวะ  เราเรียกเบาหวาน เนื่องจาก ขับถ่ายออกมา มีน้ำตาลปนมาด้วย  ดังนั้น IGF-1 จึงมีคุณสมบัติ ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ได้อย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ  นำมา ทดแทนการฉีด อินซูลินในผู้ป่วยเบาหวานได้
จึงอาจจะเรียกได้ว่า Growth Hormone มีผลในทางอ้อมในการ ควบคุมระดับน้ำตาล ได้เช่นเดียวกับ อินซูลิน

การไดเอต รูปแบบ Intermittent Fasting เป็นรูปแบบการอดอาหาร ที่มีรูปแบบในการ กำหนดช่วง เวลาการทาน
อาหาร ออกเป็น 2 ช่วง คร่าว
1.ช่วงของการทานอาหาร เราจะนับระยะเวลา หลังการทานอาหารเข้าไปด้วย 2 ชั่วโมง อย่างเช่น หากเรา ทานอาหาร 1 ชั่วโมง เวลาย่อยอาหาร 2 ชั่วโมงเราจะนับเข้าไปด้วย กลายเป็น 3 ชั่วโมง ของการกินอาหาร
2.ช่วงของการอดอาหาร นับตั้งแต่ หลังจาก ช่วงเวลาทานอาหาร และย่อย อาหารผ่านไปแล้ว คือตั้งแต่ 3-70 ชั่วโมง เราจะทำการอดอาหารซึ่ง เราจะไม่ทำเกิน 70 ชั่วโมง เพราะ จะส่งผลกระทบให้ร่างกาย เข้าสู่ ภาวะ ธำรงค์ดุลย์ ซึ่งจะทำให้ร่างกาย ควบคุมน้ำหนักได้ยากขึ้น

ในการอดอาหารรูปแบบ Intermittent Fasting นั้น โดยปกติ ชีวิตคนเรา ที่ทานอาหาร กันวันละ 3 มื้อ ก็ล้วนแล้วแต่ต้อง อดอาหารรวมๆคร่าวๆแล้ว ประมาณวันละ 12 ชั่วโมง ยกตัวอย่าง คือ ในเวลานอน 8 ชั่วโมง + เวลา ก่อนนอน และหลังตื่น 4 ชั่วโมง เพียงแต่หากว่าเรา เลื่อนมื้อเช้าไปให้ช้าขึ้น แล้ว ก็จบมื้อ อาหารให้เร็วขึ้น เราก็ทำการอดอาหาร แบบ InterMittent Fasting ได้แล้ว

Intermittent Fasting นั้นมีหลายแบบ มีทั้งแบบ ง่าย และ แบบยาก แต่ควรเริ่มจากการ อดอาหาร แบบ 12/12 ไปก่อน

12/12 คือการอดอาหาร 12 ชั่วโมง กิน 12 ชั่วโมง  เรามีเวลาในการกินอาหาร 12ชั่วโมง โดยนับรวม เวลา ย่อยอาหารเสร็จในมื้อ สุดท้ายไปด้วย ซึ่งรูปแบบนี้ง่ายที่สุด เพราะปกติ คนทั่วไปที่กินอาหารปกติ 3 มื้อ ก็จะจัดอยู่ในรูปแบบนี้ทั้งสิ้น เพียงแต่ เป็นการกำหนดเวลาที่ชัดเจน มากขึ้นเท่านั้น เวลาที่เรานอน 8 ชั่วโมง ซึ่ง เป็นเวลาที่เราต้องอดอาหารอยู่แล้ว + กับเวลา ก่อนนอน 2 ชั่วโมง และ หลังตื่นนอน 2 ชั่วโมง ก็นับได้แล้วว่า อดอาหาร 12 ชั่วโมง

8/16 คือ ก็จะปรับลดเวลา ทานอาหารให้เหลือ เป็น 8 ชั่วโมง และ เวลาในการอดอาหารก็เพิ่มขึ้นมา เป็น 16 ชั่วโมง ต่อวัน โดยอาจจะ เริ่มปรับ โดยการ เขยิบมื้อ อาหาร มารวบ โดนอาจจะค่อยๆ เริ่มจากการ ขยับ มื้อ อาหารเช้า ให้ ช้าลง  แล้วจบมื้อสุดท้าย ให้เร็วขึ้น ให้อยู่ในระยะเวลา 8 ชั่วโมง

5/19 หรือที่เรียกว่าFast-5 ปรับลดช่วงเวลา การทานลงมา เป็น 5 ชั่วโมง อด 19 ชั่วโมง หรือจะปรับลดต่ำกว่านี้ก็แล้วแต่ ความต้องการของแต่ละบุคคล แต่เวลาอดอาหารควรจะได้ซัก 17 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ

24/24 คือ อดอาหาร แบบอด 1 วัน แล้วก็ กิน 1 วัน  แต่วิธีนี้ ควรทำ แค่เพียง ไม่เกิน 2 ครั้งต่อสัปดาห์ และไม่ควรทำ ติดๆกัน




รูปแบบ  Alternat Day Fasting /Adf
เป็นไดเอต สลับ วันกินปกติ กับวัน กินน้อย โดยจะแบ่งออกเป็น 1 วันกินอาหารปกติ 2 วันควบคุมปริมาณอาหาร โดยจะปรับจาก อาหารปกติที่ทาน เหลือเพียง 20 % ของพลังงานที่ได้รับต่อวัน อาจจะปรับเพิ่ม เป็น 35% - 40% แต่ถ้าพอใจในน้ำหนักก็จะปรับมาเป็น 50 - 60 % ของอาหารที่ได้รับต่อวัน

ทั้งนี้ หลายคนอาจจะข้องใจกับ Intermittent Fasting ว่าการอดอาหารแบบนี้ ไม่ทำให้เกิด YoYo หรือไง คำตอบคือ การอดอาหารแบบนี้ เราจำเป็นต้อง ประคองไม่ให้ การอดอาหาร หรือขาดสารอาหาร มีความต่อเนื่อง นานเกิน 72 ชั่วโมง คือ จะอธิบายว่า มันก็เป็นการอดอาหาร ที่มีความใกล้เคียงกับ การอดอาหารของสาวๆ ที่ทำให้เกิดอาการ YoYo เพียงแต่ เป็นการอดอาหาร ที่ควบคุม ตามระยะเวลา ไม่ให้ ยาวนานเกินไป มีการอดอาหาร และทานอาหาร แบ่งออกเป็นช่วงๆ ซึ่งสามารถ ปรับเปลี่ยนได้ ตามแต่สภาพของบุคคล แต่ทั้งนี้ การไดเอต รูปแบบ การอดอาหารก็เป็นทางเลือกหนึ่ง ที่ใช้กำจัดไขมันได้ดี เพียงแต่ต้องค่อยๆปรับ การไดเอต ให้เหมาะกับตนเอง  ซึ่งจริงๆ วิธีการไดเอต แบบนี้มีทำกันมานานแล้ว เพียงแต่ มันขัดกับความรู้ ของเราที่ผ่านมา เท่านั้น สำหรับผม ผมคิดว่า การไดเอตแบบนี้ ได้ผลแต่ต้องทำ อย่างมีสติ ค่อยๆปรับจาก ระดับเล็กน้อย อย่างเช่น การอด อาหาร 12/12 มันง่าย และเบา แต่ที่เรา ไดเอต ไม่ใช่เพื่อลดความอ้วน อย่างเดียว เราต้องการ ผลประโยชน์จากกระบวนการต่างๆของ การไดเอต นี้ด้วย เช่น กระบวนการ ขจัดเซลล์ ที่ไม่ดี โดยการ กินตัวเอง ที่เรียกว่า autophagy ก็มีการวิจัย และทดลอง มาแล้ว ในสัตว์ และในคน ที่เป็นมะเร็งมาแล้ว ว่า การอดอาหาร มีผล ให้ มีการกินเซลล์ มะเร็งได้ ทำให้ผู้ป่วย ดีขึ้น  ในสัตว์ ทดลอง เช่นหนู มีการฉีดเชื้อมะเร็ง เข้าไป แล้วทดลอง ให้อาหาร หนู ปรากฏว่า หนูที่ได้ อาหารเต็มที่ กลับตายเร็วกว่า หนูที่อดอาหาร กลับปรากฏว่า เชื้อมะเร็ง หายไปเนื่องจากกระบวนการ กินตัวเอง หรือ autophagy  ในคนก็เช่นกัน ทดลองในคนที่ ป่วยมะเร็ง ก็พบว่า เซลล์มะเร็ง หายไป และสุขภาพดี กว่าคนที่ กินอาหารปกติ


การกินอาหารที่มากมื้อ ทำให้ร่างกายสูญเสียพลังไปในการย่อยมาก จะสังเกตุได้จาก หลังจากมื้ออาหารที่เราเพิ่งทานใหม่ๆ เราจะรู้สึกง่วง เนื่องจาก ร่างกายต้องนำพลังงานไปใช้ในการ ย่อยอาหาร ทำให้เรารู้สึก อยากนอน

การ ไดเอต ไม่ใช้จำกัดอยู่แต่เฉพาะผู้ ควบคุมน้ำหนักเท่านั้น แต่ในผู้ที่ต้องการมี สุขภาพที่ดี ควบคู่ไปกับ การออกกำลังกายแล้ว ก็จะใช้การไดเอต ร่วมด้วย นักกีฬา ก็ใช้การไดเอต ควบคุ่กับการ ฝึกฝนร่างกาย ทั้งนั้นครับ ไม่ว่าจะเป็น นักวิ่ง  นักมวย นักกล้ามยิ่งแล้วใหญ่ ดังนั้น การไดเอต จึงเป็นสิ่งที่ควรทำ หากเราต้องการ ทั้งการควบคุมน้ำหนัก และ สุขภาพที่ดีครับ แต่การจะ ไดเอต รูปแบบไหน นั้นก็แล้วแต่ ว่าเราจะ มีความเหมาะ กับรูปแบบไหน ทั้งนี้ ร่างกายของแต่ละคนก็มี ความพร้อม มีสักยภาพที่ต่างกันไป ไม่อาจจะ ทำในสิ่งเดียวกันได้ จึงควรเลือก ที่เราทำแล้วไม่ขัดกับเรา และ เราชอบครับ

ในบทนี้ก็ไม่มีอะไรมาก หากมีสิ่งใดไม่ดี ผิดพลาดไป ขออภัยมา ด้วยนะครับ

ขอบพระคุณครับ




วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Fast-5 Diet ไดเอต ฉบับ Dr.Bert Herring ทำไม อินซูลิน จึงเป็นปัญหา


 

Fast-5 Diet ไดเอต ฉบับDr.BertHerring

ไดเอต รูปแบบของการ อดอาหาร เป็นช่วงๆ การอดอาหารในรูปแบบ ของ Dr.Bert Herring ได้เริ่มต้นมาจาก การศึกษา ถึงการควบคุมระบบ เมตาโบลิก ของมนุษย์โดยอ้างอิงถึง การควบคุม ระบบเผาผลาญ โดยมีความพยายาม ควบคุม ปริมาณ และ ระยะเวลาที่ อินซูลิน จะสามารถอยู่ใน กระแสเลือด ให้มีระยะ ไม่เกิน 7 ชั่วโมงต่อวัน โดยจะเริ่มนับระยะเวลาเริ่มจาก การเริ่มทานอาหาร ไปจนถึง ระยะเวลาสิ้นสุด การทานอาหาร 5 ชั่วโมง โดยให้นับรวม 2 ชั่วโมงหลังจากช่วงเวลาการทานอาหารสิ้นสุดลงด้วย 2ชั่วโมง เนื่องจาก อินซูลิน ยังคงทำงานอยู่ในกระแสเลือด รวมเป็น 7 ชั่วโมง

เนื่องจาก อินซูลิน มีหน้าที่ ในการ กักเก็บไขมัน ไว้ในเนื้อเยื่อไขมัน ดังนั้น การที่ให้ ควบคุม อินซูลิน
ให้ออกมาในช่วงเวลาที่กำหนด ก็ย่อมมีผลต่อการเก็บสะสมไขมัน ให้อินซูลินมี ช่วงเวลาในการ เก็บไขมัน ในร่างกายที่สั้นลง และในช่วงที่อดอาหาร ก็จะ ให้ตับอ่อน ทำหน้าที่ดึงเอา ไขมัน มาเป็นพลังงานใช้ในร่างกาย แทน กลูโคส โดยตับอ่อนจะ ผลิต คีโตน ออกมาเป็นพลังงานให้กับร่างกาย และ ผลิต กลูโคส ให้กับสมอง ซึ่งเป็นระบบที่ ร่างกายจะเปลี่ยนรูปแบบการใช้ พลังงานจาก กลูโคส ที่ได้จาก อินซูลิน ไปใช้พลังงาน ไขมัน แทน

แนวคิดในการควบคุม อินซูลิน เป็นแนวคิด ที่มีอยู่ใน การ ไดเอต อย่างเช่น atkins diet, dukan diet,intermitten fasting อีกหลายๆสูตร ไดเอต

การควบคุมอาหาร แบบ อดอาหารเป็น ช่วงเวลา นี้ เราจะเรียกกันว่าIntermittent Fasting ซึ่งในรูปแบบ ของ Dr.Bert Herring
เป็นการจัดสรรค์ ช่วงเวลา ออกเป็น เวลาที่ ทานอาหาร และเวลา อดอาหาร เวลาอดอาหาร 19 ชั่วโมง กินอาหาร 5 ชั่วโมง แต่ถ้าหาก ทำแล้ว ไม่รู้สึกดี จะปรับลด เวลาอดอาหาร เหลือ 17 ชั่วโมงก็ได้ ไม่ว่ากัน


กลไกการทำงานของ อินซูลิน ที่ทำให้ นักวิทยาศาสตร์ คิดว่ามีปัญหา คือ กลไก ของอาการดื้อ อินซูลิน ในสมัยก่อน นักวิทยาศาสตร์ ยังไม่ทราบว่า เหตุใด คนเราจึงเป็นโรคเบาหวาน เพียงแต่แค่รู้ว่า ลักษณะของอาการ โรคเบาหวานคือ ปัสสาวะบ่อย แต่ด้วยวิทยาการในสมัยนั้นยังไม่ก้าวหน้าเพียงพอ จึงใช้วิธีนำเอา ฉี่ ของผู้ต้องสงสัย ไปตากจนแห้ง แล้วให้นักวิทยาศาสตร์ ชิมรสเอา หลายคนอาจจะคิดว่าตลกแต่สมัยก่อนเป็นเช่นนี้จริงๆ เพราะไม่มีวิทยาการใด จะบ่งบอกได้ว่า เป็นเบาหวาน จนในที่สุด แมกคัลสกี้ นักวิจัย ได้ทำการ ทดลอง ตัดตับอ่อนของ สุนัข เพื่อการทดลอง ปรากฏว่า สุนัข เป็นโรคเบาหวาน หลังจากตัดตับอ่อน จึงทำให้เข้าใจว่า ในตับอ่อน ต้องมีสิ่งใดอยู่แน่ๆ จึงทำการทดลอง พบว่า มีอินซูลินอยู่ หากแต่ว่าการสกัดเอา อินซูลินมารักษาโรคเบาหวานในสมัยก่อน ไม่สามารถทำได้ เนื่องจาก มีเซล ที่ย่อยสาร ย่อยโปรตีน เปปติเดด ทำการการย่อย อินซูลินอีกที จึงทำการ สกัดสาร อินซูลิน ไม่ได้ จนในปี 192 เฟดเดอร์ริก เบนติ้ง ก็ได้ทำการ สกัด อินซูลินได้ เป็นผลสำเร็จ และได้รับรางวัลโนเบลจากการ ค้นพบนี้ เมื่อเอาไปทดลอง ในเด็กที่ ตับอ่อนชำรุด ปรากฏว่าได้ผลในการรักษาที่ดี เนื่องจาก เด็กมีอาการ ที่ดีขึ้น แต่เมื่อนำไป ทดลองในผู้ใหญ่กลับพบว่า ไม่ได้ผล เนื่องจาก มีภาวะดื้ออินซูลิน คือมีอินซูลิน ในปริมาณมาก ผิดจากที่ นักวิทยาศาสตร์คิดไว้ ว่า เบาหวาน เกิดจากภาวะ ขาดอินซูลิน แต่ผลที่ได้ กลับผิดคาด ปรากฏว่า ตัวอย่างการทดลอง มีปริมาณ ของอินซูลินที่มาก กว่าคนปกติ 2-3 เท่า แต่กลับเป็นเบาหวาน เนื่องจาก ภาวะ ที่ร่างกาย ดื้อต่ออินซูลิน อินซูลิน ไม่สามารถทำงาน โดยการ เปลี่ยนสภาพ คาร์บ ไปพลังงานได้ จึงเกิดเป็นเบาหวาน ทั้งหมดนี้ จึงเป็นที่มาส่วนหนึ่ง ของการ ไดเอต ทั้งหลาย ที่พยายาม จัดการกับ อินซูลิน โดยให้ อินซูลิน มีระยะเวลาการทำงานที่สั้นลง ผลิต น้อยลง เพราะเชื่อว่า การที่ อินซูลินมีการผลิตมาก ผลิตบ่อย ทำให้ร่างกาย ดื้ออินซูลิน เป็นผลให้เป็นเบาหวาน โรคอ้วน ซึ่งทำให้เกิดภาวะ เมตาโบริกซินโดรม (metabolic syndrome) ซึ่งคือกลุ่มอาการ ความบกพร่องจากระบบเผาผลาญ เช่นโรคอ้วน โรคเบาหวาน นอกจากนั้น การเกิดภาวะ อินซูลิน ไม่สามารถรักษาระดับ น้ำตาลในเลือดได้ทำให้ เกิดสารร่องลอย ไม่มีการจัดเก็บ ทำให้เกิดภาวะมะเร็ง และ อักเสบภายในร่างกาย อีกด้วยซึ่งถือว่า ทั้งหมดนี้เกิดจาก Metabolic SynDrome ซึ่งทั้งหมดนี้คือ ที่มาของการ พยายามควบคุม อินซูลิน ในไดเอต แบบ Fast-5,atkins,dukan และอื่นๆอีกมากมาย
 
หลักการ Fast-5

1.อดอาหาร 19 ชั่วโมง ทานอาหารได้ 5 ชั่วโมงต่อวัน

2.ใช้การ ค่อยเป็นค่อยไป ในการ พยายาม เลื่อนมื้ออาหาร เช้าไปเรื่อยๆ  ทานได้จำนวนไม่จำกัด ไม่จำกัดมื้อด้วย แต่ขอให้อยู่ในช่วงเวลา

3.ทานอาหารอะไรก็ได้ จำนวนเท่าใดก็ได้ กี่มื้อก็ได้ในช่วงเวลาที่กำหนด 5 ชั่วโมง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า กินแหลก ควรกินให้พอเพียงต่อความ ต้องการของร่างกาย ถึงจะไม่ได้ระบุว่าให้กินได้แค่ไหน แต่ก็ไม่ควรน้อยเกินกว่า 1200 -1400 kcal  แต่ก็ ไม่ควร เกินกว่าความต้องการมาก เพราะควรจำไว้ว่าเรากำลัง ไดเอต

4.ทานอาหาร 17.00 - 22.00 ถือเป็นช่วง  Action loss ถือเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุด เนื่องจาก เป็นช่วง หลังเลิกงาน ทุกคนพร้อมจะ พักผ่อนแล้ว แต่หากสะดวกในเวลาอื่น ก็สามารถ เลื่อนเป็นเวลาอื่นได้


การเลื่อนมื้ออาหาร

วิธีการ ไดเอต ในรูปแบบนี้ มีเป้าหมาย ในการจำกัด และควบคุมอินซูลิน ให้มีช่วงเวลา
ที่อยู่ในกระแสเลือด ให้สั้น ที่สุด และปริมาณ ที่ออกมาทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ในช่วง
เวลาของมัน จะไม่มีการกิน หลายมื้อ เพราะมองว่า การทานหลายมื้อ ทำให้ อินซูลิน ออก
มาบ่อย พร่ำเพรื่อ เกินไป ทำให้คุณภาพ อินซูลิน ต่ำลง เนื่องจาก หาก อินซูลิน มีชั่วโมง
การทำงานในกระแสเลือดมาก ก็จัดเก็บไขมัน มากด้วย เมื่อไขมัน มีมาก ทั้งนี้ หมายถึง 
ไขมันที่เกิดจาก การแปรสภาพ มาจากแป้ง และน้ำตาล เราไม่นับรวม สารอาหารประเภท
ไขมันที่เราทานเข้าไป เพราะผลการวิจัย พบแล้วว่า สารอาหารประเภทไขมัน หรือที่เรียกว่า
ไคโรไมคลอน จะถูกน้ำดี ขับออกมา ในเวลาไม่เกิน 8 ชั่วโมง แต่ไขมันที่สะสมในร่างกาย
ของเรา มาจากไขมัน ที่เกิดจากการ กักเก็บของ อินซูลินทั้งสั้น ดังนั้น ระยะเวลา ในการ
รวบ เวลา เพื่อให้ อินซูลิน ออกมาในเวลาที่จำกัด จึงมีความสำคัญ 

วิธีการเลื่อนมื้ออาหาร หากจะแนะนำวิธีการเลื่อนมื้ออาหาร เพื่อให้ ระยะเวลา ทานอาหาร
เป็นไปตามสูตร ของ Fast-5 แนะนำให้ พยายาม เลื่อนมื้ออาหารเช้า ออกไป ทีละ 30นาที
หรือ ทีละ 1 ชั่วโมง โดยพยายามรวบ มื้อ อาหารไปก่อน เช่น หากว่าเราทานเช้า 8 โมง
เราก็ไปทาน 8.30 ปรับไปทีละ 30 นาที จนกว่าจะ ไปชน เวลาอาหารเที่ยง แล้วเราก็ รวบ
มื้ออาหารเที่ยง เป็นมื้อเดียวกับ มื้อเช้า เราก็ทำการรวบ มื้ออาหาร ไปอีกทีละ 30 นาที จนไป
ชนเวลา 17.00 เราก็ รวบเวลาทาน เป็น 17.00 - 22.00 ทานกี่มื้อก็ได้ ซึ่ง การรวบมื้ออาหาร
ในตอนแรก อาจจะ ทาน 3 มื้อ 3 ช่วงเวลาไปก่อน แล้วค่อยๆรวบ เป็น 2 มื้อ สองเวลา แล้วปรับ
เป็น 1 ช่วงเวลา กี่มื้อก็ได้ ตามสูตร จะทำให้ ไม่ยากจนเกินไป ไม่แนะนำการหักดิบ

สำหรับหลักการ ของ Fast-5 นั้น อาจจะดูโหด แต่ในความจริง ในทางปฏิบัตินั้น ไม่ได้
หนักหนา อย่างที่คิดกันนัก เนื่องจาก การไดเอต โดยการ อดอาหาร รูปแบบนี้ จริงอยู่ ว่า
มีเวลา กินอาหารแค่ 5 ชั่วโมง แต่หาก นับรวม เวลาที่ กิน เสร็จแล้ว ไปอีก 2 ชั่วโมง ซึ่ง
อินซูลิน ยังคงทำงานอยู่นั้น ก็รวมได้เป็น 7 ชั่วโมง ที่เราจะไม่หิว  หลังจาก 24.00 ผมนับรวม
2 ชั่วโมงหลังกินไปด้วย เพราะ เราก็ยังเพิ่งกินเสร็จยังไม่หิวแน่นอน 24.00 เราก็นอน ปกติ
ตอนนอนเราก็อดอาหารอยู่แล้ว 8 ชั่วโมง ก็นับจริงๆ เราก็อดอาหารเพียงแค่ 8 ชั่วโมง เท่านั้น

การไดเอต Fast-5 มีข้อห้ามดังนี้คือ

1.ไม่ทำการหักดิบ เราจะไม่ทำการอดอาหาร รวดเดียว เราจะค่อยๆปรับเวลา รวบมื้ออาหาร
ให้เหลือมื้อเดียวอย่างช้าๆ

2.ไม่ทำในคนที่ ป่วย คนท้อง หรือสงสัยว่าท้อง เด็ก ผู้มีโรคประจำตัว ผู้ป่วยเบาหวาน หัวใจ
ความดัน รวมทั้งโรค อื่นๆที่มีความเสี่ยงและห้ามการอดอาหาร

3.การไดเอต รูปแบบ การอดอาหาร อาจมีผลต่อผู้ที่มีความ เซนซิทีฟ ต่อระดับน้ำตาลในเลือด
ที่ต่ำลง จึงควรยอมรับความเสี่ยงตรงนี้ด้วย

ข้อเสียของการ ลดน้ำหนักในรูปแบบ Fast Five นั้นคือ

1.การทานอาหาร โดยไม่จำกัดประเภทของแหล่งอาหาร ทำให้ ร่างกายอาจจะได้รับ ไขมันส่วน
เกินมาได้มาก ทำให้มีปัญหา ต่อหัวใจและหลอดเลือด เนื่องจากสูตรการลดอาหารแบบนี้ ไม่เน้น
การบังคับชนิดอาหาร แต่เจ้าของสูตรก็ได้บอกว่า เมื่อทำการอดอาหาร แรกๆ จะทานทุกอย่าง
ที่ขวางหน้า เพื่อทำการ ทดแทนการอดอาหารที่ผ่านมา แต่เมื่ออยู่ตัวแล้ว การทานจะค่อยๆควบคุม
ได้และทานน้อยลง  แต่ทั้งนี้ก็ควรทานให้เป็นไปตามที่ร่างกายต้องการ สารอาหารต่อวันจริงๆ

2.การควบคุมการทานอาหารแบบนี้ มีผลทำให้ ร่างกายทำงานหนัก เนื่องจากอาหารที่ทานส่วน
ใหญ่ซึ่งจะอยู่ท้องจะเน้นไปที่โปรตีน ซึ่งทำให้ร่างกายเกิดสภาวะ ความเป็นกรดได้ ร่างกายจึง
จำเป็นต้องไปดึง แคลเซียม จาก กระดูกมาทำการ รักษา สมดุลย์ของร่างกาย ทำให้กระดูกพรุน
ตามมาได้

3.คนเราในปัจจุบันมีวิธีชีวิต ที่ไม่สามารถเลือกรับทานอาหาร ตามเวลาที่กำหนดแน่นอน ตาย
ตัวได้ วิถีชีวิตเร่งรีบ กินเวลาไหนได้ก็ต้องกิน

4.หากว่า น้ำตาลในเลือดต่ำลง ในบางคน ไม่อาจทนได้ ก็อาจจะมีอาการ คลื่นไส้อาเจียน และ
หน้ามืดได้ ซึ่ง อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ได้จึงไม่เหมาะกับทุกคน

5.การอัด มื้ออาหาร ไว้ใน ช่วงเวลาเดียว ทำให้ กระเพาะ ต้องทำงานเกินความจำเป็น อาจเกิดกระเพาะ
คราดได้

6.การทานอาหาร ให้สามารถอยู่ท้องได้นาน นั้นจำเป็นต้อง ทานเนื้อสัตว์ แต่การทานเนื้อสัตว์ เป็น
ผลทำให้เกิด กรด ยูริก ซึ่งหาก ร่างกาย ขับไม่ทัน ก็จะทำให้เกิดการตกผลึก ทำให้เกิด โรคเก๊าได้
ซึ่ง เป็นผลต่อเนื่องจากการเป็นโรคหลอดเลือด และ โรคหัวใจอีกต่อหนึ่ง

7.การควบคุมน้ำหนัก หรือไดเอต โดยการเน้นการ จัดการกับ คาร์บ ที่เป็นพลังงานหลักของร่างกาย
แล้วไปใช้ พลังงานจาก คีโตน ที่ผลิตมาจาก ตับอ่อนแทน แล้วให้ตับอ่อน ผลิต กลูโคส ไปเลี้ยงสมอง
อีกที ผมไม่แน่ใจว่า มันจะดีจริงหรือเปล่า 

ในทางปฏิบัติ ก็ต้องถือว่า ความเชื่อในการ อดอาหาร ในรูปแบบ Fast-5 นั้น หักล้าง
ความเชื่อเดิมๆที่ว่า ต้องทานอาหาร 3 มื้อทุกวัน เนื่องจาก ในผู้ปฏิบัติหลายคน สามารถลดน้ำหนัก
ได้จริง และยังมีสุขภาพที่ดี เนื่องจากการอดอาหารในรูปแบบ Intermittent Fasting
ซึ่งมีงานวิจัย มาแล้วว่า การอดอาหาร เป็นช่วงๆ แบบนี้ กลับมีผลดี ทำให้ ร่างกายสร้าง Growth
hormone ซึ่งเป็นฮอโมนแห่งความหนุ่มสาว เพิ่มขึ้น เกิดกระบวนการกินตัวเอง หรือที่เรียกว่า
Autophagy

ส่วนตัว ผมทำ และก็ อาจจะเรียกว่าทำอยู่ แต่ที่ทำ น่าจะเรียกว่า  Intermittent Fasting มากกว่า แต่ Fast-5 ก็เคย ลองทำ แต่รู้สึกว่า ช่วงเวลามันไม่ได้จริงๆ รู้สึกว่า มันหน้ามืด และรู้สึกว่า แรงไม่พอ ออกกำลังกายไม่ไหว แต่ที่ทำอยู่คือ ทำคล้ายๆกัน แต่จะ อดอาหารแค่ 16 ชั่วโมง จะเริ่มทานเช้า แล้ว ทานแบบอัดเลย คือตอนเช้า ผมจะไปวิ่งก่อน 1 ชั่วโมง แล้วก็กลับมา ซัดแหลก ช่วงเวลาทานอาหารของผม ไม่ใช่ 5 ชั่วโมง แต่จะ ราวๆ 7-8 ชั่วโมง  แต่ที่ผมทำ ไม่ได้มีความตั้งใจจะทำ Intermittent Fasting เพียงแต่ ผม เป็นคนมีนิสัย ชอบกิน อาหารแบบอัดแหลก ช่วงเช้า แล้ว พอบ่ายๆ ผมจะไม่หิว
ก็เลยไม่กิน แต่ก็คิดว่า ดีเหมือนกันนะ ลองทำแล้วก็ ok

สรุปได้ว่า การ ไดเอต รูปแบบ Fast-5 เป็นไดเอต ที่มีคนทำแล้ว ประสบผลที่ดี และมี การทดลอง
ที่หักล้างความเชื่อเก่าๆมาแล้วมากมาย แต่ทั้งนี้ ในผู้ที่สนใจจะทำ ขอให้ ทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป และ
ปรับสูตร และช่วงเวลาให้เหมาะกับตนเอง จริงๆ ผมจะบอกว่า หลายคนทำแล้วดีจริงๆ นักเพาะกาย
บางคนก็ทำ การอดอาหาร ในรูปแบบ Intermittent Fasting ใครอยาก ทดลองทำได้
แต่ต้อง ได้รับสารอาหารที่พอเพียง ต่อวันด้วย ไม่ใช่ อดอย่างเดียว และ อย่างอดอาหารเกิน 72 ชั่วโมง
การอดอาหารเป็นช่วงๆแบบนี้ แค่เป็นการ จัดช่วงเวลา รับประทานอาหารใหม่ เพื่อควบคุม การหลั่งอินซูลิน ไม่ใช่วิธีการ อดอาหารแบบ ทานน้อย จนขาดสารอาหาร อย่างที่หลายคนอาจจะเข้าใจกันผิดๆ มันคือ ทาน แต่ทานในช่วงเวลาจำกัด พอเข้าใจนะครับ

สำหรับบทนี้ ผมมีเท่านี้ แต่จริงๆ มันจะมีต่อไปอีก แต่อยากไป เขียนต่อในบทหน้ามากกว่า เพราะมันจะ
เกี่ยวโยงกัน จะพูดถึง การ อดอาหาร แบบ Intermittent Fasting ว่ามันเป็นยังไง มันก็ค่อยๆกับ Fast-5 แต่ก็อยากให้ติดตามกันครับ บทนี้เสริมเรื่อง อินซูลิน นอกเรื่องไปบ้าง อ่านยากหน่อย เข้าใจยากหน่อยก็ขออภัยนะครับ

ขอบพระคุณครับ